สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในพื้นที่เขตเมือง

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ บุญนาค สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค
  • นิติรัตน์ พูลสวัสดิ์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค
  • สุทธิสา จันทร์เพ็ง สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค
  • เวสารัช สรรพอาษา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

สถานะสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมในพื้นที่เขตเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียม ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษาและย่านธุรกิจในพื้นที่เขตเมืองปี พ.ศ. 2560 เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร รูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 471 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน 2560 เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามมี 3 ส่วน ประกอบด้วย (1) ข้อมูล คุณลักษณะทางประชากร (2) ข้อมูลสถานะสุขภาพ และ (3) ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ รวมจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ ข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร การพักอาศัย ข้อมูลสถานะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่า ความถี่ จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร กับสถานะสุขภาพ และ กับพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 41.4 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 34 ปี มีสถานะเป็นเจ้าของห้องพัก อาศัยร้อยละ 56.7 ส่วนใหญ่รู้จักผู้ที่พักอาศัยในคอนโดมิเนียมเดียวกัน ร้อยละ 50.3 ข้อมูลด้านสถานะสุขภาพกาย พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีค่าดัชนีมวลกายระดับปกติ เพียงร้อยละ 35.6 และ 46.9 ตามลำดับ สถานะทาง สุขภาพจิต พบว่า ส่วนใหญ่มีความเครียดระดับน้อย ร้อยละ 55.0 และข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ เพศชายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 70.3, 14.4, 17.4 ตามลำดับ สำหรับเพศหญิง มีพฤติกรรม สุขภาพดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย ร้อยละ 51.8, 4.3, 29.3 ตามลำดับ และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรกับสถานะสุขภาพ พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งเพศ กลุ่มอายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับดัชนีมวลกายที่มีภาวะอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าระดับความเครียดมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุน้อย กว่า 35 ปี มีความเครียดระดับมากที่สุด (ร้อยละ 73.0) (p<0.05) จะเห็นได้ว่า สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์กันและสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการสร้างรูปแบบการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ พึงประสงค์ และการสร้างความรอบรู้สุขภาพด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้ องกัน ควบคุมโรค จัดตั้งชมรมรักสุขภาพเพื่อการมี พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของประชาชนผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมในพื้นที่เขตเมืองที่เป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจ จึงเป็นแนวทางที่ควรดำเนินการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. บริการข้อมูลสถิติ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559]. แหล่งข้อมูล: https://www.dopa.go.th/public_service/service1

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ปรับปรุง 14 กุมภาพันธ์ 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: https:// www.dol.go.th/estate/DocLib/coe_law_1_25221.pdf

นิติรัตน์ พูลสวัสดิ์. การศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพ ประชาชนในเมืองใหญ่ที่เป็นชุมชนคอนโดมิเนียม 2557 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 เม.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://irem.ddc.moph.go.th/downloads/file/215

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://web.krisdika.go.th/data/law/ law2/%CD11/%CD11-20-9999-update.pdf

ศุภวรรณ มโนสุนทร, นวรัตน์ เพ็ชรเจริญ, สาลินี เซ็นเสถียร, กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, นพวรรณ อัศวรัตน์, พัชริยา ยิ่งอินทร์, และคณะ. การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่- ติดต่อในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559]. แหล่งข้อมูล: www.thaincd.com/document/ file/info/BRFSS-28-03-55.docx

มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี, นันทนา น้ำฝน. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานในสถาน ประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2555; 32(3):51-64.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons; 1977.

ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ.2541. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.

นริสรา พึ่งโพธิ์ สภ. ปัจจัยแนกระดับสถานะสุขภาพของ ผู้หญิงวัยมทำงาน. วารสารประชากรศาสตร์; 2550:23(2): 19-34.

สุดารัตน์ รักบำรุง, ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. ปัจจัยที่มีผลต่อ ความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในเขต กรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://proceedings.bu.ac.th/index. php/com-phocadownload-controlpanel/csr

World Health Organization. Tobacco free initiative. Why is tobacco a public health priority? [Internet]. [cited 2016 Feb 15]. Available from: http://www.who.int/tobacco/ about/en

Bai X, Nath I, Capon A, Hasan N, Jaron D. Health and wellbeing in the changing urban environment: complex challenges, scientific responses, and the way forward. Current Opinion in Environmental Sustainability 2012;4(4):465- 72.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้