รูปแบบการดำเนินงานและมาตรการในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • สมบัติ ผดุงวิทย์วัฒนา กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การดำเนินงาน, มาตรการการจัดการ, สถานการณ์ฉุกเฉิน, โรคโควิด-19, จังหวัดสตูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการดำเนินงานและมาตรการในการจัดการสถานการณ์ ฉุกเฉินโรคโควิด-19 พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล การวิจัยครั้งนี้เลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดย การศึกษานำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบ CIPP Model ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการ ทบทวนเอกสารตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสตูล และเอกสารถอดบทเรียนการจัดการโรคโควิด19 จังหวัดสตูล ตัวอย่างการศึกษาเป็นผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 260 คน รวมถึงข้อมูลผู้ป่ วย โรคโควิด-19 ทีเข้ารับการรักษาในเขตพื้นที ่ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 17,994 ราย ซึ่งทำการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 เมษายน 2565 โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย logistic regression การ ศึกษาพบว่า จังหวัดสตูลได้ดำเนินการ 3 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพของประชาชนตามแนวคิด ความพอประมาณ เพื่อให้บุคคลสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ประมาท และรู้เท่าทันโรค (2) การพัฒนาเครือข่าย ความร่วมมือในการจัดการโควิด-19 ในชุมชนตามแนวคิดการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็งสามารถ บริหารจัดการระบบเฝ้ าระวัง และดูแลตนเองในชุมชนได้ (3) การจัดการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามแนวคิด ที่มีเหตุผลและอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มเปราะบาง ผลการรักษาพบว่าอุบัติการณ์เฉลี่ยความรุนแรงของ โรคโควิด-19 น้อยกว่า ร้อยละ 15.00 ขณะที่อุบัติการณ์เฉลี่ยความรุนแรงทั่วโลก ร้อยละ 20.00 ขณะที่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในทุกประเด็นระดับสูง ที่คะแนนมากกว่า 80.00 คะแนน โดยสรุปการศึกษานี้แสดง ให้เห็นถึงรูปแบบการรับมือด้วยการรู้เท่าทันธรรมชาติของโรค และเลือกวิธีการรับมืออย่างพอเพียงและเหมาะสมจะ ช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพที่ด

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Khafaie MA, Rahim F. Cross-country comparison of case fatality rates of COVID-19/SARS-COV-2. Osong Public Health Res Perspect 2020;11(2):74-80.

Macedo A, Nilza Gonçalves N, Febra C. COVID-19 fatality rates in hospitalized patients: systematic review and meta-analysis. Annals of epidemiology 2021;57: 14-21.

อมรเทพ วรเจริญ, จักรวาล สุขไมตรี, วิจิตรา ศรีสอน. ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง: แนวคิดและการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อ การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2565; 8(4):419-33.

Ciotti M, Ciccozzi M, Terrinoni A, Jiang WC, Wang CB, Sergio Bernardini S. The COVID-19 pandemic. Critical Reviews in Clinical Laboratory Sciences 2020; 57(6):365-88.

Hidayat D. Crisis management and communication experience in education during the covid–19 pandemic in indonesia. Jurnal Komunikasi: Malaysian Journal of Communication 2020;36(3):67-82.

Yubonpunt P, Kunno J, Supawattanabodee B, Sumanasrethakul C, Wiriyasirivaj B. Prevalence of perceived stress and coping strategies among healthcare workers during the COVID-19 outbreak at Bangkok metropolitan, Thailand. PLoS ONE 2022;17(7):e0270924.

วลัยพร รัตนเศรษฐ, สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. บทบาทของ ภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของ โควิด-19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2564;4(2):71-87.

ปวีณ์กร จอดนอก. รูปแบบการดำรงชีวิตเพื่อการพึ่งตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายหลังการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ ประชาชนบ้านใหม่จัตวาหมู่ที่ 10 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565;9(8):327-44.

พิทักษ์ พงศ์กางการ, ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. การบริหาร จัดการสมาชิกฟาร์มโคนมที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง โคนมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยวิชาการ 2565;5(4):71-84.

ปชาบดี แย้มสุนทร, พระครู สมุห์ จิรชาติ พุทฺธรกฺขิโต (โนรี), พระครู จิตรการโกวิท สิรินนฺโท. การพัฒนาสุขภาวะชุมชน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดชลบุรี. ปัญญา 2022;29(2):38-53.

ดุษฎีพร หิรัญ, ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล, สุรวุฒิ สุดหา. การจัดการ ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนบ้านกุดหูลิง ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น 2565; 6(3):75-88.

นฤมล สุขประเสริฐ. การนำผลของโปรมแกรมการส่งเสริมสุขภาพพอเพียงร่วมกับวิถีมุสลิมต่อพฤติกรรม การควบคุม โรคและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมุสลิมที่ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ประยุกต์ใช้. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 22563;5(3):11-16.

Nantakat B, Vorachart V. Designing tourism identity communication in Satun UNESCO Global Geopark. GeoJournal of Tourism and Geosites 2021;35(2):275-81.

Ma C, Gu J, Hou P, Zhang L, Bai Y, Guo Z, et al. Incidence clinical characteristics and prognostic factor of patients with COVID-19: a systematic review and meta-analysis. MedRxiv 2020;03(17):20037572.

Hu Y, Sun J, Dai Z, Deng H, Li X, Huang Q, et al. Prevalence and severity of corona virus disease 2019 (COVID-19): a systematic review and meta-analysis. Journal of clinical virology 2020;127:104371.

Babus A, Dass S, Lee SM. The optimal allocation of COVID-19 vaccines. Economics Letters 2023;224: 111008.

Sadarangani M, Raya BA, Conway JM, Iyaniwura SA, Falcao RC, Colijn C, et al. Importance of COVID-19 vaccine efficacy in older age groups. Vaccine 2021; 39(15):2020-3.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ