การตรวจวิเคราะห์สารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ที่วางจำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นันทวดี เนียมนุ้ย ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • แพร สายบัวแดง ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ภัสราวดี เผ่าจินดา ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เนื้อสัตว์, สารต้านจุลชีพ, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, ตลาดสด

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคและส่งออกจำนวนมาก โดยเฉพาะเนื้อหมู ไก่ และกุ้ง ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์จึงมีการใช้สารต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ป้ องกันและรักษาโรค ปัจจุบัน แนวโน้มการใช้สารต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารต้านจุลชีพในเนื้อกุ้งขาว ไก่ และหมู ที่วางจำหน่ายใน ตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้วยชุดทดสอบ RR test kit จำนวน 105 ตัวอย่าง (เนื้อ สัตว์ชนิดละ 35 ตัวอย่าง) ทำการทดสอบหาการตกค้างสารต้านจุลชีพ 3 กลุ่ม (กลุ่ม A: tetracycline, กลุ่ม B: macrolide, aminoglycoside และ sulfonamide และ กลุ่ม C: penicillin) ผลการศึกษาพบว่าเนื้อกุ้งและไก่มีการตกค้าง ของสารต้านจุลชีพกลุ่ม B มากที่สุด (ร้อยละ 97.1 และ 85.7 ตามลำดับ) ในขณะที่เนื้อหมูมีการตกค้างของสารต้านจุลชีพกลุ่ม C มากที่สุด (ร้อยละ 71.4) โดยการตกค้างของสารต้านจุลต้านชีพกลุ่ม B ในตัวอย่างเนื้อกุ้ง ไก่ และหมู มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบตัวอย่างเนื้อสัตว์ที่มีการตกค้างของสารต้านจุลชีพมากกว่า 1 กลุ่ม จำนวน 83 ตัวอย่าง (ร้อยละ 79.0) ผลการศึกษานี้บ่งชี้ถึงปัญหาการตกค้างของสารต้านจุลชีพที่พบมากในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ จึงควรติดตามแนวโน้มสถานการณ์ของสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ ต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของสารต้านจุลชีพไปสู่สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในการบริโภค เนื้อสัตว์

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Codex Alimentaris Commission. Request for revision/ information to the database on countries’ needs for MRLs [Internet]. 2016 [cited 2021 Nov 25]. Available from: http://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/shproxy/en/?Ink=1&url=http%253A%252F%252F%20 workspace.fao.org%252Fsites%252Fcodex%252FCircular%252520Letters%252FCL%2525202016- 42%252FCL16_42e.pdf

ใจพร พุ่มคำ. อาหาร (ไม่) ปลอดภัย ผลจากการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์. วารสารอาหารและยา 2555;19(3):8-11.

นาถสุดา จามธรัญญวาท. การตรวจคัดกรองหายาปฏิชีวนะ ตกค้างในเนื้อไก่จากตลาดเขตเทศบาลขอนแก่นโดยชุดตรวจสอบ KS-9. วารสารวิจัย มข 2543;5(1):72-5.

ชุมพล นาครินทร์, อดิศร ชาติสุภาพ. การตรวจหายาต้าน จุลชีพตกค้างในเนื้อสุกร เนื้อโค และเนื้อไก่ในพื้นที่จังหวัด ชัยภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 18 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://certify.dld.go.th/certify/index.php/ th/2016-05-01-14-51-22/2016-05-03-03-24- 22/69-2016-05-18-08-09-40

สถิตคุณ ไมตรีจิต, สิทธิณี ปฐมกำธร, ส่งศักดิ์ ศรีสง่า, พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร. การตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อ สุกรและเนื้อโคสดที่จำหน่ายในบริเวณตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2564;3(3):16-28.

ธงชัย เฉลิมชัย, สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ, ส่งศักดิ์ ศรีสง่า, นภาพร เลิศวรปรีชา. การเปรียบเทียบผลการตรวจยาปฏิชีวนะ ตกค้างหลังการหยุดยาอ็อกซี่เตตร้าซัยคลิน ซัลฟาเม็ทท็อก ซาโซล ซัลฟาเม็ทท็อกซาโซล+ทรัยเม็ทโทปริม และเอ็นโรฟล็อกซาซินในกุ้งขาว (Penaeus vannamei) โดยวิธีไมโครเบียลอินฮิบิชั่นดิสค์แอสเสย์ และชุดตรวจสอบยาปฏิชีวินะ ตกค้าง “แซมเทสท์”. วารสารสงขลานครินทร์ วทท 2548; 21(ฉบับพิเศษ 1):283-90.

รัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์, อุดมลักษณ์ ธิติรักษ์พาณิชย์. การตรวจ หาสารปฏิชีวนะตกค้างในอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/387

รพีพัฒน์ นาคีภัย, สุพัตรา บุตราช, สุขกมล เกตุพลทอง. อัตราอุบัติการณ์สารกลุ่มเตตราซัยคลินตกค้างในกุ้งเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย 2564;14(1):66- 73.

นริศร นางงาม, สรรเพชญ อังกิติตระกูล, พิทักษ์ น้อยเมล์, วสันต์ จันทรสนิท. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการตรวจ คัดกรองหายาปฏิชีวนะตกค้างในไก่เนื้อและไข่ไก่โดยใช้วิธี ทริปเปิลมีเดี่ยมด้วยไตรเมทโทพริม วิธียูโรเปี่ยนโฟรเพลทเทสและวิธีเทคนิคทิวดิฟฟิ วชั่น. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข 2547;14(1):8-18.

เกรียงศักดิ์ สายธนู, ธงชัย เฉลิมชัยกิจ. KS-9 ชุดตรวจสอบ ยาปฏิชีวนะตกค้างในโคนมและผลิตภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัย; 2541.

วรางคณา ไชยซาววงษ์, ชุลีพร ศักดิ์ สง่าวงษ์, รวิศา วรินทร์, รัชฎาพร บริพันธุ์, จำรัส เลิศศรี, มนทิรา อินต๊ะนอน. ประสิทธิภาพของชุดทดสอบยาต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์โดยใช้หลักการยับยั้งเชื้อจุลชีพ. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร 2561;16(1):27-36.

โสภณ อ่อนคง, อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, ชุติมา ตันติกิติ. การตกค้างของยาปฏิชีวนะออกซิเตทตราซัยคลินในกุ้งกุลาดำ (Penaeus vannamai) ที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์และบ่อดิน. วารสารสงขลานครินทร์ 2543;22(ฉบับพิเศษ):717-24.

สารี อ๋องสมหวัง, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี. การตกค้างของ ยาปฏิชีวนะในอกไก่และตับไก่สด [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 8 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www. consumerthai.org/consumers-news/consumers-news/ food-and-drug/4218-610619antibiotic.html14. Jammoul A, Darra NE. Evaluation of antibiotics residues in chicken meat samples in Lebanon. Antibiotics 2019; 8(2):69-79.

จุไรรัตน์ รุ่งโรจนารักษ์, ดวงดาว วงศ์สมมาตร์, ปรีชา จึงสมานุกูล. การพัฒนาชุดทดสอบยาปฏิชีวนะและสารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2544;43(ฉบับพิเศษ 1):113-29.

ดวงดาว วงศ์สมมาตร์, สมภพ วัฒนมณี. สถานการณ์ของ สารต้านจุลชีพตกค้างในเนื้อสัตว์ในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2550;49(2);144- 56.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้