ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสายอาชีพ สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • แพรวพรรณ ชาวบ้านบึง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ธานินทร์ สุธีประเสริฐ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุรศักดิ์ สุนทร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุวรรณี เนตรศรีทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การสูบบุหรี่, นักศึกษาสายอาชีพ, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ ่ กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสายอาชีพ สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์แนวคิด PRECEDE Framework และทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองมากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่เคยสูบบุหรี่ ร้อยละ 55.17 เคยสูบแต่เลิกแล้ว ร้อยละ 27.93 และยังคงสูบบุหรี่อยู่ ร้อยละ 16.90 อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่คือ 14.10 ปี น้อย ที่สุดคือ 7 ปี สาเหตุที่ทำให้สูบบุหรี่คือ อยากลอง คลายความเครียด และเพื่อนชักชวน ตามลำดับ ส่วนใหญ่สูบน้อย กว่า 4 มวนต่อวัน และสูบที่บ้านเพื่อน นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 59.23 ซื้อบุหรี่ด้วยเงินของตนเองโดยมีค่าเฉลี่ย ประมาณ 326 บาทต่อเดือน สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ สาขาที่ศึกษา และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการสูบบุหรี่ (p<.05) งานวิจัยเสนอให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมรณรงค์ การไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษาทุกระดับ รวมไปถึงเพิ่มทักษะการปฏิเสธบุหรี่ให้กับนักเรียน เพื่อป้ องกันนักสูบหน้าใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ประกิต วาทีสาธกกิจ. ข้อมูลบุหรี่กับสุขภาพ สำหรับพระสงฆ์ เพื่อเผยแพร่แก่ญาติโยม. กรุงเทพมหานคร: รักษ์พิมพ์; 2552.

จริยา ยิ้มเจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของเยาวชนในจังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2559. 100 หน้า.

World Health Organization. The top 10 causes of death [Internet]. 2018 [cited 2018 March 8] Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/thetop-10-causes-of-death

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. รายงานสถิติ การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของ ประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติ- แห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2564.

ศศิธร ชิดนายี, วราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561;10(1): 83-93.

จินตนา แก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การสูบบุหรี่ของพลทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็ก รักษาพระองค์ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2556. 94 หน้า.

ศริยา ลาวัณยภิรักข์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของเจ้าหน้าที่ชายที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด ทั้ง 6 แผนกของ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2555. 96 หน้า.

Green LW, Kreuter MW. Health promotion planning: an educational and ecological approach. 3rd ed. California: Mayfield Publishing Company; 1999.

Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: WH Freeman and Company; 1997.

Yamanae T. Statistics: an introductory analysis. London: John Weather Hill, Inc.; 1973.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

กมลภู ถนอมสัตย์, รัชนี สรรเสริญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในระยะเริ่มต้นของนักเรียนชาย ชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตราด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2554;4(3):38- 47.

ชณิษฐ์ชา บุญเสริม, ผกามาศ สุฐิติวนิช, วรษา รวิสานนท์. รายงานการวิจัยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน ในจังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการ ควบคุมยาสูบ; 2552.

อริศรา ธรรมบารุง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ สูบบุหรี่ของพนักงานบริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553. 106 หน้า.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้