สมรรถนะการปฏิบัติงานสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ผู้แต่ง

  • ทิวากร หลาบนอก หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภรณี วัฒนสมบูรณ์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อลงกรณ์ เปกาลี ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สมรรถนะสุขศึกษา, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, นโยบายองค์กร

บทคัดย่อ

สมรรถนะการปฏิบัติงานสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีความสำคัญ ต่อการบรรลุผลการปฏิบัติงานขององค์กร การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะ การปฏิบัติงานสุขศึกษาของเจ้าหน้าทีสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และปัจจัยทีสัมพันธ์กับสมรรถนะ ่ การปฏิบัติงานสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน รวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Google form) ดำเนินการช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2565 วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสองตัวแปรด้วยสถิติทดสอบสหสัมพันธ์ point-biserial Pearson’s product-moment และ Eta coefficient ผลการศึกษาโดยภาพรวมของสมรรถนะการปฏิบัติงานสุขศึกษา พบกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 55.1) มีสมรรถนะอยู่ในระดับ “ต้องการการพัฒนา” สมรรถนะด้านการประเมินและการวิจัย และด้านการชี้แนะนโยบาย เพื่อสุขภาพ เป็นด้านที่กลุ่มตัวอย่างยังต้องการการพัฒนามากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 43.0) และ ระดับดี (ร้อยละ 2.0) ผลทดสอบความสัมพันธ์แบบสองตัวแปร พบว่า อายุ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานสุขศึกษา และ ปัจจัยด้านนโยบายองค์กร มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานสุขศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการยกระดับขีดความสามารถการปฏิบัติงานสุขศึกษาของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข การดำเนินการควรเน้นทีการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการสร้างระบบและกลไกสำหรับการพัฒนา ศักยภาพด้านสุขศึกษาบนพื้นฐานสมรรถนะ ที่บูรณาการเข้าในแผนพัฒนาศักยภาพบุคคลากรที่มีอยู่

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2559-2560: กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2561.

Green J, Tones K, Cross R, Woodall J. Health promotion: Planning & strategies. 3rd ed. London: SAGE; 2015.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนงาน/โครงการ และตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. (ฉบับปรับปรุง) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 8 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/ default/files/Ebook%20%20%202565%20V5.pdf

คณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ. ประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่องบริการสุขภาพปฐมภูมิที่บุคคลมี สิทธิได้รับ พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอน พิเศษ 275 ง (24 พฤศจิกายน 2563).

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ด้วย Competency based learning. กรุงเทพมหานคร: แผนก สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ; 2548.

รัชนี บุญกล่ำ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับ สมรรถนะการสอนของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2555;6(1): 90-8.

สุคนทิพย์ รุ่งเรือง, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติ- รัตน์, สุธี อยู่สถาพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะ ของนักวิชาการสาธารณสุขกรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2559;2(1):15- 29.

McClelland DC. Testing for competence rather than for “intelligence”. American Psychologist 1973;28(1):1- 14.

ประจักษ์ บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

พัทธ์ชนก พุทธมนต์สิงห์, ประจักร บัวผัน, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่ มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ติดดาว ตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่สารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(3):120-30.

National Commission for Health Education Credentialing. Areas of responsibility, competencies and sub-competencies for health education Specialist Practice Analysis II 2020 [Internet]. 2564 [cited 2022 Jan 8]. Available from: https://www.sophe.org/careerhub/health-education-profession/seven-areas-responsibility-health-education-specialists/

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข. มาตรฐานงานสุขศึกษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล ศูนย์สุขภาพชุมชน พ.ศ. 2555. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2555.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2566.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. Hoboken, NJ: Wiley; 2018.

Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals. Book 1. cognitive domain. London: Longman; 1956.

ศันสนีย์ วงค์ม่วย, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ ศรี. แรงจูงใจที่มีผลต่อ สมรรถนะ ประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด เพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):46-54.

ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, นำพร อินสิน, วิบูลย์ สุขตาลกุล, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ . ความคาดหวังต่อสมรรถนะในศตวรรษ ที่ 21 ที่พึงประสงค์ของนักวิชาการสาธารณสุข. วารสาริชาการสาธารณสุขชุมชน 2565;8(02):77-89.

World Health Organization Regional Office for Europe. Ottawa charter for health promotion, 1986. Copenhagen: World Health Organization Regional Office for Europe; 1986.

Glanz K, Rimer BK, Viswanath K. Health behavior: theory, research, and practice. San Francisco: John Wiley & Sons; 2015.

Blenner SR, Lang CM, Prelip ML. Shifting the culture around public health advocacy: Training future public health professionals to be effective agents of change. Health Promotion Practice 2017;18(6):785-8.

ยุพิน สุขเจริญ, ขวัญดาว กล่ำรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของพยาบาล ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัด นครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2558;2(2):14-26.

Herzberg F. Motivation to work. New York: Routledge; 2017.

ธีร์ธวัช พิมพ์วงค์, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2561;7(2): 115-26.

Gunawan J, Aungsuroch Y, Fisher ML, editors. Competence-based human resource management in nursing: a literature review. Nursing Forum 2019:54(1):91-101.

จินตนา กีเกีย, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการ สนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ตามบทบาท หน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562;19(2):154-65.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ