ผลกระทบของโควิด-19 ต่ออาการทั่วไป สมรรถภาพการทำงาน สมรรถภาพปอด และคุณภาพชีวิตหลังติดเชื้อไม่เกิน 6 เดือนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น

ผู้แต่ง

  • เสาวณีย์ วรวุฒางกูร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ณัฏฐ์ศศิ ชูกิจรุ่งโรจน์ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อโควิด-19, คุณภาพชีวิต, การทดสอบเดิน 6 นาที

บทคัดย่อ

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ส่งผลต่อสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจต่อทั่วโลก แม้ว่า ส่วนใหญ่ของผู้ป่ วยหายจากการติดเชื้อ แต่มีรายงานพบว่าจะคงมีความผิดปกติหรือความบกพร่องต่ออวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หรือหลายส่วนเกิดขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต่ออาการทั่วไป สมรรถภาพ การทำงานของร่างกาย สมรรถภาพปอด และคุณภาพชีวิตภายหลังการติดเชื้อ 4 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 6 เดือนด้วยการ ศึกษาวิเคราะห์เชิงตัดขวางแบบสุ่มตัวอย่างตามความสะดวกในช่วงมกราคมถึงเมษายน 2566 ผลการศึกษาใน อาสาสมัครวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 46 คน (ชาย 9 หญิง 37) อายุเฉลี่ย 21.22±1.51 ปี พบว่าร้อยละ 86.95 จะมีอาการ ทั่วไป โดยห้าอันดับอาการที่พบบ่อยคือ อ่อนล้าเพลียง่าย หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง หายใจสั้นตื้น มีเสมหะและผมร่วง ง่ายเพิ่มขึ้น สมรรถภาพการทำงานของร่างกายด้วยผลทดสอบเดิน 6 นาทีต่อค่าคาดคะเนคิดเป็นร้อยละ 79.33 ค่าสมรรถภาพปอดอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยค่าเฉลี่ยของค่าคาดคะเนคิดเป็นร้อยละ 80 ขึ้นไป ด้านคุณภาพชีวิตประเมิน ด้วยแบบสอบถาม SF-36 นั้น มิติที 2, 3, 4 และ 6 ที ่ เกี ่ ่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตดีถึงดีมาก ส่วนมิติของความรู้สึกทางอารมณ์อยู่ในระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง สรุปผลการศึกษานี้ อาสาสมัครส่วนใหญ่จะยังมี อาการทั่วไปภายหลังติดเชื้อโควิด-19 ในช่วง 6 เดือน ผลของสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย สมรรถภาพปอด รวมทั้งคุณภาพชีวิต ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Sanchez-Ramirez DC, Normand K, Yang Z, Torres-Castro R. Long-term impact of COVID-19: A systematic review of the literature and meta-analysis. Biomedicines 2021;9:900-14.

Yan Z,Yang M, Lai CL. Long COVID-19 syndrome: a comprehensive review of its effect on various organ systems and recommendation on rehabilitation plans. Biomedicines 2021;9:966-85.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650712140709PM_CPG_COVID-19_v.24.1. n_20220711.pdf

American Thoracic Society. ATS statement: guidelines for the six-minute walk test. Am J Respir Crit Care Med 2002;166(1):111-7.

Enright PL, Sherrill DL. Reference equations for the six-minute walk in healthy adults. Am J Respir Crit Care Med 1998;158(5 Pt 1):1384-87.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://thaichest.files.wordpress. com/2019/08/guidelinepft.pdf

Dejsomritrutai W, Nana A, Maranetra KN, Chuaychoo B, Maneechotesuwan K, Wongsurakiat P, et al. Reference spirometric values for healthy lifetime nonsmokers in Thailand. J Med Assoc Thai 2000;83(5):457-66.

ชิดชนก เอกวัฒนกุล, ภัทราวุธ อินทรกำแหง. ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เอสเอฟ-36 ฉบับภาษาไทย ปรับปรุง พ.ศ.2548 ในการประเมินคุณภาพชีวิตในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้ นฟูสาร 2552;19(2): 63-7.

Leurmarnkul W, Meetam P. Properties testing of the retranslated SF-36 (Thai version). Thai J Pharm Sci 2005;29(1-2):69-88.

Kim Al, Kwon JC, Park I, Kim JN, Kim JM, Jeong BN, et al. Reference equations for the six-minute walk distance in healthy Korean adults, aged 22-59 years. Tuberc Respir Dis (Seoul) 2014;76(6):269-75.

สหคลินิกเมดิคอลไลน์แล็บ. อัปเดตสายพันธุ์โควิด-19 ในไทยพร้อมเช็คอาการเบื้องต้นของแต่ละสายพันธุ์ [อินเทอร์- เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สหคลินิกเมดิคอลไลน์แล็บ; 2566 [สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www. medicallinelab.co.th/บทความ/อัปเดต-สายพันธุ์โควิด19.

Kamal M, Omirah MA, Hussein A, Saeed H. Assessment and characterisation of post-COVID-19 manifestations. Int J Clin Pract 2021;75(3):e13746-50.

กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. 6-Minute walk test. เวชศาสตร์ ฟื้นฟูสาร 2557;21(1):1-4.

Wu X, Liu X, Zhou Y, Yu H, Li R, Zhan Q, et al. 3-month, 6-month, 9-month, and 12-month respirator outcomes in patients following COVID-19 related hospitalisation a prospective study. Respiratory 2021;9(7): 747-54.

Dahar A, Balfanz P, Cornelissen C, Muller A, Bergs I, Marx N, et al. Follow up of patients with severe coronavirus disease 2019 (COVID-19): pulmonary and extrapulmonary disease sequelae. Respir Med 2020; 174:106197.

Admon AJ, Iwashyna TJ, Kamphuis LA, Gundel AJ, Sahetya SK, Peltan ID, et al. Assessment of symptom, disability, and financial trajectories in patients hospitalized for COVID-19 at 6 months. JAMA Netw Open 2023;6(2):e2255795.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ