รูปแบบการจัดหน่วยบริการออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค

ผู้แต่ง

  • สุดธิดา แสงยนต์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อรยุดา เตารส กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ปัทมาภรณ์ เครือหงษ์ สำนักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • รณิดา เตชะสุวรรณา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, รูปแบบการจัดหน่วยบริการ, หนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบการจัดหน่วยบริการ ออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ของกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค และประเมินผล การนำรูปแบบการจัดหน่วยบริการไปใช้งาน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา คือ ผู้รับผิดชอบแผนงานสุขภาพผู้เดินทาง 4 คน เจ้าหน้าที่จ้างเหมา บริการ 24 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการออกหนังสือรับรองรูปแบบเอกสาร ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2565 จำนวน 386 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) แบบบันทึกสภาพปัญหา (2) แบบสังเกตและบันทึกผล การใช้ร่างรูปแบบ (3) แบบรายงานผลการให้บริการ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ ใช้การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาสภาพปัญหา พบว่า หน่วยบริการขาดเป้ าหมายและ แผนการพัฒนาในระยะยาว รวมทั้งความพร้อมด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ ผลการพัฒนารูปแบบใน 2 วงรอบ พบว่า รูปแบบการจัดหน่วยบริการ ประกอบด้วย (1) กำหนดเป้ าหมายและภารกิจหน่วยบริการทีชัดเจน (2) ออกแบบ ่ งานบริการตามเป้ าหมายและภารกิจที่กำหนด และจัดหาเจ้าหน้าที่ สถานที่ ระบบสารสนเทศ และวัสดุอุปกรณ์ที่ เหมาะสมกับการใช้งาน (3) จัดโครงสร้างหน่วยบริการให้มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ (4) มีสายการบังคับบัญชา สั่งการ 4 ระดับ (5) มีการประสานงานและส่งต่อข้อมูลอย่างเป็นระบบ และ (6) มีการควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน ตามเป้าหมายที่กำหนด จากการนำรูปแบบการจัดหน่วยบริการไปใช้งาน ผลการให้บริการเฉลี่ยต่อวันรวมทุกงานบริการ เพิ่มขึ้นจาก 147 คน เป็น 2,944 คน ผู้รับบริการมีความพึงพอใจการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.67 หน่วยบริการออกหนังสือรับรองสามารถนำรูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Giuntella O, Hyde K, Saccardo S, Sadoff S. Lifestyle and mental health disruptions during COVID-19. Proc Natl Acad Sci U S A [Internet]. 2021 [cited 2022 Sep 4];118(9):e2016632118. Available from: https:// www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7936339/pdf/pnas.202016632.pdf

Nicola M, Alsafi Z, Sohrabi C, Kerwan A, Al-Jabir A, Iosifidis C, et al. The socio-economic implications of the coronavirus pandemic (COVID-19): a review. Int J Surg [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 4];78:185-93. Available from: https://www.ncbi. nlm.nih.gov/pmc /articles/PMC7162753/

Nhamo G, Dube K, Chikodzi D. Impact of COVID-19 on the global network of airports [Internet]. [cited 2022 Sep 4]. Available from: https://www. researchgate.net/ publication/344321126_Impact_of_COVID-19_on_ the_Global_ Network_of_Airports

IATA. Air passenger market analysis [Internet]. 2020 [cited 2022 Sep 4]. Available from: https://www.iata. org/en/iata-repository/publications/economic-reports /air-passenger-monthly-analysis---december-2020/

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง การออกหนังสือรับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)) พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 74 ง (ลง วันที่ 31 มีนาคม 2561).

กรมควบคุมโรค. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง แบบหนังสือ รับรองการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ที่ 138, ตอนพิเศษ 83 ง (ลงวันที่ 19 เมษายน 2561).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สรุปรายจ่ายการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางออกนอกประเทศ ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.mots.go.th/news /category/616

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปต่างประเทศ จำแนกตามประเทศสุดท้ายที่เดิน ทางไป พ.ศ. 2554 - 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีน โควิด-19 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/ 9/1620102142737.pdf

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988. 11. Fayol H. General and industrial management. Mansfield Centre: Martino Publishing; 2013.

Yamane T. Statistics an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1967.

เกสรา บุญครอบ, ภัทรนันท สุรชาตรี. การพัฒนาบุคลากรที่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.ย. 2565];24(2):51-61. แหล่ง ข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/ article/download/260965/174840

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ