การป้องกันและชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุวัยต้นในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศุภฤทธิ์ เฮงครวิทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ภาวะข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเช่าเทียม, การออกกำลังกายที่เหมาะสม, ผู้สูงอายุวัยต้น, ผู้สูงอายุวัยปลาย

บทคัดย่อ

ข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มพบอุบัติการณ์ภาวะข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นจากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากสถิติห้องผ่าตัดโรงพยาบาลนครปฐมพบว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นสาเหตุการ ผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน อันดับ 1 ของแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ 3 ปีติดต่อกัน ในปีงบประมาณ 2556, 2557, 2558 คือ 213, 207 และ 229 ราย ตามลำดับ การศึกษานี้เป็นแบบย้อนหลัง มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ศึกษาในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลนครปฐมด้วยการสุ่มตัวอย่าง 192 คน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 มีนาคม 2559 โดยอธิบายถึงกลไกการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม วิธีการรักษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลือก รับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม เก็บตัวอย่างโดยใช้แบบประเมิน โดยใช้ Oxford Knee Score เก็บ ข้อมูลที่ 0, 3, 6 เดือน นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม SPSS version 21 ค่าสถิติจะมีนัยสำคัญเมื่อ p<0.05 ผู้เข้าร่วมวิจัย 192 ราย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง หลังจากรับโปรแกรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อมอย่างจริงจัง ประเมินที่ 3 เดือน และ 6 เดือน พบว่า น้ำหนักตัว ค่า BMI, รอบเอว ไม่ลดลง แต่ Oxford Knee Score ที่ 0, 3 และ 6 เดือน เป็น 35.4 36.1 และ 37.9 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น กับผู้สูงอายุวัยปลาย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น สามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่า รอบเอวลดลงมากกว่า ขณะที่ Oxford Knee Score เพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายอย่างมีนัยยะทางสถิติทุกค่า ดังนั้นจึงควรส่งเสริมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มคนที่กำลังสู่วัยผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันก่อนมีภาวะข้อเข่าเสื่อม และยังสามารถลดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมอีกด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ