ผลของการใช้โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลต่อความรู้และทักษะการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุฬดี กิตติวรเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สาวิตรี สิงหาด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อธิพงศ์ สุริยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • จำลอง กิตติวรเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชัน, เตรียมความพร้อม, ผู้ดูแล, การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อม ของผู้ดูแลต่อความรู้และทักษะการป้ องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบสอบถามความรู้ในการป้ องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (3) แบบประเมินทักษะในการ ป้ องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (4) โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยความรู้การป้ องกันภาวะสมองเสื่อมใน ผู้สูงอายุของผู้ดูแลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลสูงกว่าก่อน ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) (2) คะแนนเฉลี่ยความรู้การป้ องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของ ผู้ดูแลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับ การดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ (3) คะแนนเฉลี่ยทักษะการป้ องกันภาวะสมองเสื่อมใน ผู้สูงอายุของผู้ดูแลในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลสามารถทำให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะเพิ่มมากขึ้นในการป้ องกันภาวะ สมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้ ดังนั้นควรสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลให้มีส่วนร่วมในการดูแลประยุกต์ใช้ โปรแกรมเว็บแอปพลิเคชันเตรียมความพร้อมในการให้ความรู้และทักษะสำหรับผู้ดูแลเพื่อป้ องกันภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ดนุลดา จีนขาวขำ, นงนุช วงษ์สว่าง, กัญญา ศรีตะวัน. การรับรู้สภาพความเป็นจริงและความคาดหวังต่อการบริการการ ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลดอนตะโก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):170-82.

ปิติพร สิริทิพากร. ความชุกของกลุ่มอาการสูงอายุและ ลักษณะของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(3):20-9.

สาวิตรี สิงหาด, สุฬดี กิตติวรเวช, ภูษณิศา มีนาเขตร, อธิพงศ์ สุริยา. สมรรถภาพสมอง และความสามารถในการ ทำหน้าที่ของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):242-50.

Atoyebi O, Routhier F, Bird M. Systematic review of systematic reviews of needs of family caregivers of older adults with dementia. European Journal of Ageing 2022;19(1):381–96.

มินตรา สาระรักษ, ฐิติรัช งานฉมัง, นันทยา กระสวยทอง. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรี- นครินทร์เวชสาร 2563;35(3):304-10.

ชลิยา ศิริกาล, แจ่มนภา ใขคา, แก้วใจ มาลีลัย, ถนอมศักดิ์ บุญสู่. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านใน การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ 2564;4(2):176-89.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์, วัลลภา อันดารา. ผลของกิจกรรม กลุ่มเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถในการรู้คิดและความ รู้เรื่องโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองบกพร่อง ระยะต้น. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2563;13(1): 83-96.

สุมณฑา มั่งมี, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล ความพร้อมในการดูแล และ ความสามารถในการคาดการณ์การดูแลกับความเครียดจาก กิจกรรมการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง เสื่อม. วารสารสภาการพยาบาล 2564;36(3):151-64.

Lindeza P, Rodrigues M, Costa J, Guerreiro M. Impact of dementia on informal care a systematic review of family caregivers perceptions. BMJ Supportive and Palliative Care 2020;12(1):1-12.

ศรุตยา หาวงษ์, วีณา เที่ยงธรรม, สุธรรม นันทมงคลชัย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะ สมองเสื่อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว. วารสารพยาบาล 2561;31(1):110-28.

จุฬาวลี มณีเลิศ. การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการดูแลผู้ สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 2564; 7(2):83-94.

Moehead A, DeSouza K, Walsh K, Pit S. A web-based dementia education program and its application to an australian web-based dementia care competency and training network integrative systematic review. Journal of Medical Internet Research 2020;22(1):6-18.

Pleasant M, Molinari V, Dobbs D, Meng H, Hyer K. Effectiveness of online dementia caregivers training programs: a systematic review. Geriatric Nursing 2020; 41(6):921-35.

Shin Y, Kim S. Effects of app-based mobile interventions for dementia family caregivers a systematic review and meta-analysis. Dementia and Geriatric Cognitive Disorders 2022;51(3): 203–13.

นูรดีนี ดือเระ, แอนซอรี อาลี , มนัสวี อดุลยรัตน์ , ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์ , ไซนะ บินดือเล๊าะ, สุภาวดี ขวัญเจริญ, และคณะ. ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นการดูแลแบบประคับประคองใน มิติจิตวิญญาณตามวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความรู้และการรับรู้ ความสามารถในการดูแลมิติจิตวิญญาณของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนราธิวาส. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564;31(3):85-96.

เนติยา แจ่มทิม, สินีพร ยืนยง, ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์. ผล ของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุ 2562;25(3):108-19.

จิตชญา อยู่เย็น, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยน ข้อเข่าเทียม ต่อความพร้อมในการดูแลและความพึงพอใจ ของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2562;35(1):85-99.

Wang A, Newman K, Martin L, Lapum J. Beyond instrumental support mobile application use by family caregivers of persons living with dementia. Dementia Journal 2022;21(5):1488-510.

ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล. ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะ ผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสาธารณสุขชุมชน 2562;2(2):26-37.

วินีตา ประทีปวัฒนพันธ์, ปิยะนุช จิตตนนท์, อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร์. ผลของโปรแกรมการพยาบาล สนับสนุนและให้ ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล และความ สามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยมุสลิมโรคหลอดเลือดสมอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2564;27(3): 343-59.

ฟุรซาน บินซา, เนตรนภา คู่พันธวี, ขนิษฐา นาคะ. ผลของการให้คำแนะนำโดยใช้แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่อ ความรู้และการปฏิบัติการดูแลของผู้ดูแลผู้บาดเจ็บสมอง ระดับเล็กน้อยเสี่ยงต่ำก่อนจำหน่ายจากแผนกฉุกเฉิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2566;15(1): 157-72.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้