การพัฒนารูปแบบการป้องกันผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบรุนแรงซ้ำในชุมชน ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โรคจิตเภท, โรคจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, การดูแลผู้ป่วยจิตเวช, การดูแลสุขภาพผู้ป่วยในชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการป้ องกันผู้ป่ วยจิตเวชอาการกำเริบรุนแรงซ้ำในชุมชน ตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่ วยจิตเวชในชุมชน จำนวน 65 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการเปรียบเทียบตัวแปรในกลุ่มตัวอย่างเดียวกันใช้สถิติ paired sample t-test ที่กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเวชและการดูแลผู้ป่ วยจิตเวชในชุมชน มีคะแนนเฉลี่ย การปฏิบัติเพิ่มขึ้น ก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (Mean=13.55, SD=2.80 และ Mean= 16.05, SD=2.88 ตามลำดับ) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) โดยมีคะแนนผลต่าง ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.50 คะแนน (95%CI=1.67-3.33) ส่วนคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้ ป่ วยจิตเวชในชุมชน มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติเพิ่มขึ้น โดยก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย และหลังการพัฒนาอยู่ใน ระดับมาก (Mean=1.49, SD=0.38 และ Mean=2.58, SD=0.16 ตามลำดับ) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value<0.05) โดยมีคะแนนผลต่างค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.10 คะแนน (95%CI=1.01-1.17)
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนสำหรับบุคลากรของหน่วยบริการ ปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2559.
อภิชาต อภิวัฒนพร. การพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพจิต และจิตเวชในจังหวัดสกลนคร.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2556; 21(2): 131-137.
กรมสุขภาพจิต. รายงานจำนวนผู้ป่วยนอกที่มารับบริการของ สถานบริการในสังกัดกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2550- 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/report/opdnew/patient1. asp?noyear=2561
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานจำนวนผู้ป่วยนอกจิตเวชทีมารับบริการจำแนกรายกลุ่มโรคและสิทธิประจำ ปีงบประมาณ 2559-2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้น เมื่อ 15 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://203.157. 186.112/hdc/reports/report.php?source=pformated/ format_fix_col2.php&cat_id=22710ed5db1ed6b12aab540a7b0753b3&id=67ce3cd10f4ed5d2b3517f1373ef273d
กษมา พลดงนอก. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยรูปแบบสถานฟื้นฟูในเวลากลางวัน [การศึกษา อิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551. 142 หน้า.
สกาวรัตน์ พวงลัดดา,ชนกานต์ เนตรสุนทร,สุจินต์ ฐิติพิเชฐกุล, จันทร์ ยี่สุ่นศร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาล ด้านจิตสังคมสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 27(2):127-43.
โรงพยาบาลเขาวง. รายงานผลการดำเดินงานตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดสุขภาพประจำปี 2561. ประชุมคณะกรรมการ ประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.) ครั้งที่ 1; 7 ตุลาคม 2561; ห้องประชุมฝ้ายคำ. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาล เขาวง; 2562.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.
Likert R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วีระวรรณ ตันติวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตองค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2545.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทาง สังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์; 2551.
Cohen JM, Uphoff NT. World development. New York: McGraw-Hill; 1986.
Davis K, Newstrom W. Human behavior at work. 8th ed. New York: McGraw-Hill; 1989.
กมลวรรณ สีเซียงสา, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์ , สายทิพย์ สุทธิรักษา. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โดยทีมสหวิชาชีพของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอ บ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562; 10(2):457-67.
สุกัญญา ละอองศรี, บัววรุณ ศรีชัยกุล และนภดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนตำบล บ้านไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2560; 23(2): 68-79.
นิตยา สินธุ์ภูมิ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช เรื้อรังในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. ประชุมวิชาการ Service Plan Roi-Et Sharing ครั้งที่ 2; 19 ก.ย. 2560; โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นท์ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2560.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.