การพัฒนาคลังยาของหน่วยบริการสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิในเครือข่าย โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
งานเภสัชกรรม, คลังยา, หน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิบทคัดย่อ
จากการสำรวจคลังยาในหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ พบปัญหายาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ ปริมาณ ยาคงคลังมีต้นทุนการสำรองในปริมาณสูง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งทีต้องมีการพัฒนาคลังยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคลังยาของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ลดจำนวนและมูลค่ายาหมดอายุภายใน 6 เดือน ลดจำนวนและมูลค่ายาเสื่อมสภาพหรือยาหมดอายุหลังการพัฒนาคลังยา และมูลค่ายาคงคลังที่ประหยัดได้เมื่อ กำหนดอัตราคงคลัง 1.5 เดือน เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีโครงสร้างด้านสถานที่ได้มาตรฐาน รวม 18 แห่ง เก็บข้อมูลตั้งแต่ 6 มกราคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการ พัฒนาคลังยาคุณภาพในโมดูลระบบยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชในหน่วยบริการสาธารณสุข ระดับปฐมภูมิ แบบเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินตาม เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพคลังยาในโมดูลระบบยาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอ้างอิงตามเกณฑ์คะแนนประเมิน รพ.สต.ติดดาว ปี 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [16.06±3.08 (ร้อยละ 76.19) และ 4.67±2.68 (ร้อยละ 20.11) ตามลำดับ, p<0.001] ก่อนการทดลองพบยาใกล้หมดอายุภายใน 6 เดือน จำนวน 91 รายการ มูลค่า 52,116 บาท ยาเสื่อมสภาพหรือหมดอายุก่อนและหลังการทดลองมีจำนวน 54 รายการ มูลค่า 29,444 บาท และจำนวน 3 รายการ มูลค่า 1,544 บาท ตามลำดับ มูลค่ายาที่ประหยัดได้เมื่อกำหนดอัตราคงคลัง 1.5 เดือน เท่ากับ 302,790 บาท
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการ พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต. ติดดาว) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.mdo.moph.go.th/computer/ web51v2/nhso_star63.pdf
สุภาวดี ศรีลามาตย์, ประจักร บัวผัน. การบริหารเวชภัณฑ์ ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข 2556;13(2):121- 32.
งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาล หัวหิน. มาตรฐานการบริหารและเวชภัณฑ์เครือข่ายบริการ สุขภาพปฐมภูมิ อำเภอหัวหิน [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้น เมื่อ 5 ส.ค. 2563] แหล่งข้อมูล: http://pharmacy.huahinhospital.go.th/UserFiles/File/1%20%C2%BA%C3 %83%C3%94%C3%8B%C3%92%C3%83%C3%A0 %C3%87%C2%AA.pdf
รอแฮนิง วาเฮง. การบริหารเวชภัณฑ์และระบบยาของ รพ.สต. ในเขตพื้นที่อำเภออ่าวลึก จ. กระบี่. วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2558;29(3):450-54.
ชวพร ลีลาเวทพงษ์, คมสัน โสตางกูร. การศึกษาประสิทธิภาพ การบริหารเวชภัณฑ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2554;7(2):1-10.
นันท์นภัส ฟุ้งสุข, อัษฎางค์ พลนอก. การพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารคลังเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มฉก. วิชาการ 2560;21(41):109-22.
กษมา แก้วบำรุง, วรินท์มาศ เกษทองมา, วุธิพงศ์ ภักดีกุล. วิเคราะห์การบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2):95-102.
มัตติกา ประพฤติดี. การพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2564;1(2):16-29.
นุชนาถ เคียงวงค์. การพัฒนาคุณภาพการบริหารเวชภัณฑ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายบริการสุขภาพม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;7(2):302-8.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.