การเปรียบเทียบการเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ/สูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับอินซูลินชนิดผสม 70/30 รูปแบบปากกาหรือเข็มฉีดยา

ผู้แต่ง

  • อนัญญา สองเมือง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธนัฎชา สองเมือง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะฉุกเฉิน, น้ำตาลต่ำ, น้ำตาลสูง, อินซูลิน, ปากกาอินซูลิน, เข็มฉีดยา

บทคัดย่อ

การบริหารยาอินซูลินชนิดผสม 70/30 ด้วยปากกาหรือเข็มฉีดยาทำให้ผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แตกต่างกันได้ การวิจัยตามรุ่นย้อนหลังนี้จึงศึกษาความสัมพันธ์ ของการใช้อินซูลินชนิดผสม 70/30 รูปแบบปากกาหรือเข็มฉีดยา กับการมารักษาที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำหรือสูง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ในผู้ป่ วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และได้รับอินซูลินชนิดผสม 70/30 ทีบริหารยาด้วยปากกา 508 ราย และเข็มฉีดยา ่ 743 ราย ติดตามไปข้างหน้า 36 เดือน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบผู้ป่ วยที่บริหารยาด้วย ปากกาและเข็มฉีดยามารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร้อยละ 3.3 และ 6.2 ตามลำดับ โดย กลุ่มบริหารยาด้วยปากกามีโอกาสมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 0.428 เท่าของกลุ่มเข็ม ฉีดยา (aOR=0.428, 95%CI=0.24-0.77, p=0.05) ผู้ป่ วยอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป มารักษาที่ห้องฉุกเฉินจาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 3.497 เท่าของผู้ป่ วยทีมีอายุน้อยกว่า 65 ปี (aOR =3.497, 95%CI=2.03-6.03, p<0.05) ่ และยังพบว่าผู้ป่ วยที่มีผู้ดูแลมารักษาที่ห้องฉุกเฉินจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงน้อยกว่าผู้ป่ วยที่ไม่มีผู้ดูแล โดยสรุป การบริหารยาอินซูลินชนิดผสม 70/30 ด้วยปากกามีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนนำมาสู่การ รักษาที่ห้องฉุกเฉินน้อยกว่าการบริหารด้วยเข็มฉีดยา และควรเฝ้ าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิต นิรมิตมหาปัญหา, ชัยชาญ ดีโรจน์- วงศ์, วีระศักดิ์ ศรินภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, สิทธิชัย อาชายินดี, และคณะ. โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/962/59b9e79625bf7359 335246.pdf

Felman A. What are insulin pens and how do we use them? Medical News Today [Internet]. 2019 [cited 2022 Jan 25]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/316607

Singh R, Samuel C, Jacob JJ. A comparison of insulin pen devices and disposable plastic syringes-simplicity, safety, convenience and cost differences. European Endocrinology 2018;14(1):47-51.

ธนินี สหกิจรุ่งเรือง. ร้อยปี แห่งการค้นพบ “อินซูลิน” นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยเบาหวานจากอดีตสู่อนาคต [อินเทอร์- เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 27 ม.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.dmthai.org/old/attachments/article/1072/dmbook2564.pdf

อนัญญา สองเมือง, ธนัฎชา สองเมือง. การเปรียบเทียบ ผลลัพธ์และต้นทุนของการใช้ปากกาและเข็มฉีดยาสำหรับ อินซูลินชนิดผสม 70/30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2565;32(3):202-17.

ชัชวาล บุญฤทธิ์ . ปัจจัยทีมีผลต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือด ต่ำของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล สิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2563;29(1 Suppl 2):63-72.

วัลลีย์ บุญนิธิพันธุ์, ปรานอม กลไกร, เบญจวรรณ ขานไข. ปัจจัยเสี่ยงของภาวะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสูงเม่น. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2558;23(1):63-71.

Long JS. Regression model for categorial and limited dependent variables. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication; 1997.

ชนากานต์ ชัยธนกุล, นฤชา โกมลสุรเดช. ความถี่และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการน้ำตาลต่ำในเลือด และความกลัวภาวะ น้ำตาลต่ำในเลือด ในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่สอง ณ หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;13(3):312-22.

Khan N. Insulin prices: pumps, pen, syringes, and more. Healthline [Internet]. 2020 [cited 2022 Jan 25]. Available from: https://www.healthline.com/health/ type-2-diabetes/insulin-prices-pumps-pens-syringes

Novo Nordisk. Novopen4 user guide [Internet]. 2019 [cited 2022 Nov 19]. Available from: https://www. novonordisk.com/content/dam/nncorp/global/en/ our-products/pdf/instructions-for-use/novopen-4/ Novopen4-UK.pdf

รุ่งโรจน์ ใบมาก. การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจากการใช้ยาฉีด อินซูลินชนิดธรรมดากับชนิดปากกาในโรงพยาบาล ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2554;7(2):25-36.

Watcharathanakij S, Jinatongthai P, Butdeemee P, Pimboonma N, Boonm P. Incidence and prevalence of hospitalization from hypoglycemia in diabetic patients at Muang Sam Sip Hospital. Isan J Pharm Sci. 2015; 11(1):191-6.

Akirov A, Amitai O, Iraqi HM, Cohen TD, Shochat T, Eizenberg Y, et al. Predictors of hypoglycemia in hospitalized patients with diabetes mellitus. Intern Emerg Med 2018; 13(3): 343-50.

จริยา เลิศอรรฆยมณ. จริยธรรมการวิจัยในคนสำหรับผู้วิจัย และคณะกรรมการจริยธรรมฯ: retrospective chart review, case report, case series [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 19 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://bangkokhealth.com/ download/irb/2019/RetrospectiveChartReview 14June2019.pdf

ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร, สมจิตต์ โล่ห์สุนทร. การออกแบบการ ศึกษาทางระบาดวิทยา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2519;20(4): 291-303.

Kasemsap N, Yaowapruek W, Chotimongkol R, Pratipanawatr T. Glibenclamide increase risk of hospitalized hypoglycemia in srinagarind hospital. Srinagarind Med J 2010:25(Suppl):254-6.

Wickersham RM. Drug facts and comparisons. St. Louis: Facts and Comparisons; 2009.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ