ผลของการใช้ Protocol การใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา และผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษาและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ด้วยระบบ Telepharmacy ณ โรงพยาบาลพระพุทธบาท
คำสำคัญ:
แบบแผนการสั่งใช้ยารักษาโรคโควิด-19, ความคลาดเคลื่อนทางยา, เภสัชกรรมทางไกลบทคัดย่อ
ก่อนหน้านี้ การสั่งใช้ยาสำหรับรักษาโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ได้แก่ ยา favipiravir, remdesivir และ molnupiravir ยังไม่มีแนวทางการสั่งใช้ยาที่เป็นแบบแผนชัดเจน และขาดระบบติดตามผู้ป่ วยหลังจ่ายยา ไปแล้ว จึงทำให้พบรายงานอุบัติการณ์ prescribing error 4.13 ครั้ง และ dispensing error 0.65 ครั้ง (ต่อ 1,000 ใบสั่งยา) ความรุนแรงระดับ D จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นถึงผู้ป่ วย แม้ไม่เป็นอันตรายแต่ต้องมี การติดตามผู้ป่ วยเพิ่มเติม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ protocol การใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ต่อความคลาดเคลื่อนทางยา และผลลัพธ์ของการให้คำปรึกษา และติดตามอาการไม่พึงประสงค์ด้วยระบบ telepharmacy โดยศึกษาย้อนหลัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565–25 มิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-squared test และ Fisher’s exact test จากคำสั่งใช้ยาทั้งหมด 2,569 ครั้ง พบรายงานความคลาดเคลื่อนทางยาทั้งหมด ลดลงจาก 4.90 เป็น 1.55 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แบ่ง เป็น prescribing error ลดลงจาก 4.13 เป็น 1.55 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา ความรุนแรงระดับ B ซึ่งไม่ส่งผลกระทบ ต่อผู้ป่ วย และ dispensing error ลดลงจาก 0.65 เป็น 0 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา ตามลำดับ เมื่อเทียบกับข้อมูลอุบัติ- การณ์ก่อนการใช้ protocol ที่ปรับใหม่ ภายหลังการใช้ protocol พบผู้ป่ วยเกิด diarrhea จาก molnupiravir 1 ราย (ร้อยละ 0.04), dizziness จาก molnupiravir 6 ราย (ร้อยละ 0.23) และ nausea/vomiting จาก favipiravir 2 ราย (ร้อยละ 0.07) ความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์อยู่ในระดับน้อย (mild adverse events) คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่ วยอยู่ในระดับมากร้อยละ 77.75 (N=956, mean=3.89/5, S.D.=0.63) ดังนั้น การใช้ protocol การ ใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาได้ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ติดตามผู้ป่วย ทำให้ ทราบอุบัติการณ์อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับใช้แนะนำผู้ป่ วยในรายต่อๆ ไปได้ และผู้ป่ วยมีความพึงพอใจหลังได้รับบริการ
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Wang L, Wang Y, Ye D, Liu Q. Review of the 2019 novel coronavirus (SARS-CoV-2) based on current evidence. Int J Antimicrob Agents [Internet]. 2020 [cited 2022 Dec 18]; 55(6):1-7. Available from: https:// www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0924857920300984
Damdar GT. Role of clinical pharmacist in COVID-19 crisis. Hosp Pharm [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 18];57(1):7–10. Available from: https://journals. sagepub.com/doi/10.1177/0018578720985429
Ghasemnejad-Berenji M, Pashapour S. Favipiravir and COVID-19: a simplified summary. Drug Res (Stuttg) [Internet]. 2021 [cited 2022 Dec 18];71(3):166-70. Available from: https://www.thieme-connect.com/ products/ejournals/html/10.1055/a-1296-7935
Lai CC, Chao CM, Hsueh PR. Clinical efficacy of antiviral agents against coronavirus disease 2019: a systematic review of randomized controlled trials. J Microbiol Immunol Infect [Internet]. 2021 [cited 2022 Dec 18]; 54(5):767-75. Available from: https://www. sciencedirect.com/science/article/pii/ S16841182210- 01353
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อใน โรงพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย (ฉบับที่ 21) 22 มี.ค. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ20 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://covid19.dms.go.th/ Content/Select_Landding_page?contentId=164
National Coordinating Council for Medication Error Reporting and Prevention. About medication errors [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 20]. Available from: http://www.nccmerp.org/about-medication-errors
Khrueawang K. Medication error. Public Health Policy and Laws Journal [Internet]. 2018 [cited 2022 Dec 20]; 4(2):251-65. Available from: https://so05.tci-thaijo. org/index.php/journal_law/article/view/161437/- 116404
Mahomedradja RF, Van den Beukel TO, Van den Bos M, Wang S, Kalverda KA, Lissenberg-Witte BI, et al. Prescribing errors in post COVID-19 patients: prevalence, severity, and risk factors in patients visiting a post COVID-19 outpatient clinic. BMC Emerg Med [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 22];22(1):35. Available from: https://bmcemergmed.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12873-022-00588-7#citeas
พรรณี ลีลาวัฒนชัย, ธนานันต์ ตัณฑ์ไพบูลย์. Favipiravir สำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 22 ธ.ค. 2565]; 31(2):141-57. แหล่งข้อมูล: https:// he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/ view/250567/171768
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.