การพัฒนาการเป็นผู้ดำเนินแผนทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการหน่วยบริการปฐมภูมิ การตรวจภาวะตั้งครรภ์ การตรวจน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ เนตรเรืองแสง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ธัญญลักษณ์ ไพโรจน์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ทิพย์รัตน์ โพธิพิทัก สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

แผนทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการหน่วยบริการปฐมภูมิ, การตรวจภาวะตั้งครรภ์ในปัสสาวะ, การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ, การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินแผนทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการหน่วยบริการ ปฐมภูมิ การตรวจภาวะตั้งครรภ์ การตรวจน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ โดยพัฒนากระบวนการเตรียมวัตถุทดสอบ การจัดส่งเอกสารให้สมาชิก และช่องทางการติดต่อสื่อสารกับสมาชิก จากการศึกษาพบว่าผู้ดำเนินแผนสามารถพัฒนา กระบวนการเตรียมวัตถุทดสอบได้ โดยวัตถุทดสอบสำหรับการตรวจภาวะตั้งครรภ์ การตรวจน้ำตาลและโปรตีนใน ปัสสาวะที่เตรียมได้ยังมีความเป็นเนื้อเดียวกันและความคงตัวตลอดช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้สมาชิกตอบผล การทดสอบ การพัฒนากระบวนการจัดส่งเอกสารให้สมาชิกจากการจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เป็นการส่งเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งไปรษณีย์ได้ถึงร้อยละ 54.5 และลดปริมาณการใช้กระดาษได้ถึง ร้อยละ 82.1 นอกจากนี้ การพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกส่งผลให้อัตราการตอบกลับของสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 81.3 เป็นร้อยละ 98.4 ตลอดระยะเวลาการดำเนินแผน 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 56,879 บาท (ร้อยละ 35.43) การนำข้อมูลการดำเนินแผนทดสอบความชำนาญมาวิเคราะห์นำไปสู่การพัฒนา กระบวนการดำเนินแผนทดสอบความชำนาญ และทำให้สมาชิกได้รับประโยชน์มากขึ้น อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากการดำเนิน แผนทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการหน่วยบริการปฐมภูมิอาจนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงาน ทีเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อนำไปสู่แนวทางในการพัฒนาระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือแนวทางการ พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) ปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 14 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://skko.moph.go.th/dward/ document_file/hc_starred/training_file_ name/20220412095550_655141757.pdf

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. คู่มือคุณภาพมาตรฐาน บริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2566.

International Organization for Standardization. International standard ISO/IEC 17043 conformity assessment-general requirements for proficiency testing [Internet]. 2010 [cited 2023 Dec 14]. Available from: https://www.iso.org/standard/29366.html

International Organization for Standardization. International standard ISO 13528:2022 statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison, 3rd ed. [Internet]. 2022 [cited 2023 Dec 14]. Available from: https://www.iso.org/standard/78879.html

Miller WG, Jones GR, Horowitz GL, Weykamp C. Proficiency testing/external quality assessment: current challenges and future directions. Clinical Chemistry 2011; 57(12):1670–80.

สมคิด ธิจักร์, ยุทธการ ยะนันโต, จารุริน วณีสอน, ก้องภพ ธิเลางา, พรรณราย วีระเศรษฐกุล. การทดสอบความชำนาญสำหรับการตรวจภาวะตั้งครรภ์ โปรตีนและกลูโคสในปัสสาวะ ของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคเหนือของ ประเทศไทย. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2564;49(2):7795- 809.

กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และ มาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 14 ธ.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ