การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในเกษตรกร กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านมะค่าใต้ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ยอดอินทร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กนิษฐา จอดนอก สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กนกวรรณ พรหมประโคน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การประเมิน, ความเสี่ยง, สุขภาพ, สารเคมี, เกษตรกร

บทคัดย่อ

เกษตรกรมีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งมีฤทธิ์ ในการขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและการสะสมเกิดพิษเรื้อรังอาจทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงการสะสมสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และหาความสัมพันธ์ของผลการประเมิน ความเสี่ยงกับผลการตรวจวัดทางชีวภาพ ในเกษตรกรชุมชนมะค่าใต้ ตำบลบ้านยาง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัด บุรีรัมย์ ที่สมัครใจ จำนวน 63 คน ด้วยเครื่องมือที่ประกอบด้วยแบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงสุขภาพ และชุด ทดสอบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมานด้วยไคสแควร์ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 74.60 อายุระหว่าง 54 – 71 ปี ร้อยละ 50.80 ทำนาเอง ร้อยละ 53.96 สัมผัสสารเคมีปุ๋ ยเคมีชนิดเม็ด ร้อยละ 44.44 และผสมสารเคมี ร้อยละ 22.22 อยู่ในบริเวณที่มีการฉีดพ่น ร้อยละ 20.64 ผลการประเมินความเสี่ยงต่อ สุขภาพมีความเสี่ยงต่ำและปานกลาง จำนวน 49 คน (ร้อยละ 79.03) มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและมีความเสี่ยงสูง จำนวน 13 คน (ร้อยละ 20.97) ผลการตรวจวัดทางชีวภาพจากการตรวจคัดกรองหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ในซีรัมอยู่ในระดับปกติและปลอดภัย จำนวน 35 คน (ร้อยละ 56.45) ระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย จำนวน 27 คน (ร้อยละ 43.55) ผลการประเมินความเสี่ยงพบว่า มีความสัมพันธ์กับผลตรวจวัดทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย การ ติดตามสังเกตพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และมีแนวทางลดอันตรายในกลุ่มเกษตรกรที่มีความเสี่ยงต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. 11 ปี ไทยนำเข้าสารเคมีเกษตร 1.66 ล้านตัน 2.46 แสนล้าน บาท เจ็บป่วยเฉลี่ยปีละ 4 พันราย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 13 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.tcijthai.com/news/2019/05/scoop/9456

กองโรคจาการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับ เกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมี กำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 19 มิ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/ contents/view/106

อนุวัตน์ เพ็งพุฒ, พุทธิไกร ประมวล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความเสี่ยงของสารเคมีกาจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;10(1):47-62.

สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลเผยแพร่ทางการ เกษตร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2562]. แหล่ง ข้อมูล: ww.buriram.doae.go.th/page/published%20information.html

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง. ข้อมูลพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.banyangburiram.go.th/index.php?op=staticcontent&id=10509

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดทีเหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และเครทซีมอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา 2562;8(1):11-28.

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความเสี่ยงในการ ทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2562]. แหล่งข้อมูล: envocc.ddc.moph.go.th/uploads/ภาคเกษตร/6_1_form_ farmer_risk.pdf

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้ว เจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

เสาวินีย์ สายทะเล, ณัฐริกา โคประโคน, ภานุมาศ ทองล้ำ, อรยา จีนโน. การศึกษาความเสี่ยงการสัมผัสสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านบอน ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์; 2561.

พิมพร ทองเมือง, ยุทธนา สุดเจริญ. พฤติกรรมการใช้สาร เคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร จังหวัด สมุทรสงคราม. ใน: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 กลุ่มระดับชาติ ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 31 สิงหาคม 2559; มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏ ธนบุรี 2559. หน้า 371-81.

ชนิกานต์ คุ้มนก, สุดารัตน์ พิมเสน. พฤติกรรมการใช้สาร เคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร 2557; 16(1):56-67.

วัชราภรณ์ วงศ์สกุลกาญจน์, ศิริศักดิ์ มังกรทอง, ประจวบ ลาภ เที่ยงแท้. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและ ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร: กรณีศึกษา อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารราชพฤกษ์ 2561;16(1):55-64.

ทินกร ชื่นชม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. วารสารแพทย์เขต 4-5 2561; 37(2):86-97.

สุนารี ทะน๊ะเป็ก, มงคล รัชชะ. ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรปลูกยาสูบ ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 2558. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2558.

เอกพล กาละดี, เจตนิพิฐ สมมาตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้ องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของชาวบ้านตำบลหินโงม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารราชพฤกษ์ 2558;13(3):42-50.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, เพลินพิศ จับกลาง, สุวิมล บุญเกิด, อัญชลี อาบสุวรรณ์. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้าน ห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(5):429-34.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ