ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ของผู้สั่งจ่ายยาในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ภิลันทน์ สังคง หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
  • กุสุมาลย์ น้อยผา สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยบัณฑิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

ยาสมุนไพร, บัญชียาหลักแห่งชาติ, หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ, การสั่งจ่ายยาสมุนไพร

บทคัดย่อ

จังหวัดปัตตานีกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติการสั่งจ่ายยาสมุนไพรสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขปฐมภูมิ ทุกแห่ง มุ่งเพิ่มร้อยละการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ แต่ผลการดำเนินงานยังไม่บรรลุตัวชี้วัด การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เรื่องการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก แห่งชาติของผู้สั่งจ่ายยาในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อคำถามความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 25 ข้อ ซึ่งพัฒนาจากการ ทบทวนวรรณกรรม ช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 ในผู้สั่งจ่ายยาของหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Fisher’s exact test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคย สั่งจ่ายยาสมุนไพร ร้อยละ 92.90 มีความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติระดับดี ปานกลาง และ ระดับต่ำ ร้อยละ 50.00, 48.21 และ 1.79 ตามลำดับ เพศ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เรื่อง การสั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ผู้สั่งจ่าย ยาสมุนไพรในหน่วยบริการสุขภาพปฐมทุกคนมีความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติในระดับดี เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการสั่งจ่ายยาสมุนไพร นำไปสู่การเพิ่มร้อยละการสั่งจ่ายยาสมุนไพรในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง สาธารณสุข. ประวัติและโลโก้ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.dtam.moph.go.th/ index.php/th/2012-05-10-07-31-12/history.html

กุลศิริ อรุณภาค, โสวัตรี ณ ถลาง, ภัทรพรรณ ทำดี. ปัญหาและการปรับตัวของแพทย์แผนไทยหลังจากการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาชมรมแพทย์แผนไทยแห่งหนึ่ง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 2562;12(5):181- 202.

จิรายุ ชาติสุวรรณ, ฉัตรวรัญช์ องคสิงห. อัตลักษณ์การแพทย์แผนไทยในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565; 9(7):58-71.

World Health Organization. Declaration of Alma-Ata [Internet]. 1978 [cited 2022 Dec 10]. Available from: https://www.who.int/teams/social-determinants-ofhealth/declaration-of-alma-ata

กระทรวงสาธารณสุข, องค์กรภาครัฐ-เอกชน. แผนแม่บท แห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. สมุทรปราการ: ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์; 2559.

ฉลอง ทองแผ่. การพัฒนานโยบายการส่งเสริมการแพทย์ แผนไทยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547;2(3):105-17.

ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย. การประเมินผลนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรของสถานพยาบาลสังกัดกระทรวง สาธารณสุข ในจังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2560. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2562;17(3): 516-26.

ปัทมา แคสันเทียะ,ทิพาพร กาญจนราช. ปัญหาและข้อเสนอแนะในการทดแทนยาแผนปัจจุบันด้วยยาสมุนไพรใน โรงพยาบาลของรัฐ: การศึกษานำร่องจากมุมมองของ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชกรรมไทย 2564;13(4):837- 46.

ปวันรัตน์ กิจเฉลา, วิศรี วายุรกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ สั่งจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของแพทย์แผนปัจจุบันในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(2):145-58.

ไพรัตน์ หริณวรรณ, วรรณา ดำเนินสวัสดิ์ , ประยุทธ ศรีกระจ่าง, นุชนภางค์ มณีวงศ์. การใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปี 2545-2549. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2552;3(3):412-18.

Lin YJ, Chang HT, Lin MH, Chen RY, Chen PJ, Lin WY, et al. Professionals’ experiences and attitudes towarduse of Traditional Chinese Medicine in hospice palliative inpatient care units: a multicenter survey in Taiwan. Integr Med Res 2021;10(2):100642.

Hussain FN, Rainkie D, Alali FQ, Wilby KJ. Association of pharmacy students’ cultural beliefs with perceived knowledge, beliefs, confidence, and experience with complementary medicine. Curr Pharm Teach Learn 2021; 13(2):159-63.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี. นโยบายการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบัน จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2563. ปัตตานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ปัตตานี; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี. ปริมาณการใช้ยาสมุนไพรเทียบกับจำนวนการสั่งจ่ายยาทั้งหมด [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 27 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ptn.hdc.moph.go.th/ hdc/main/index.php

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607- 10.

ปัทมา ศิริวรรณ. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพรของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน [การค้นคว้าอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559. 141 หน้า.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

ธนากร ประทุมชาติ, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การสั่งใช้ยาสมุนไพรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;3(1):97-112.

คัดนางค์ โตสงวน, มนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์, วันทนีย์ กุลเพ็ง, ยศ ตีระวัฒนานนท์, ณัฏฐิญา ค้าผล, เนติ สุขสมบูรณ์และคณะ. ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อยาจากสมุนไพรและนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรใน สถานบริการสาธารณสุข. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5(4):513-21.

ธีรวุฒิ มีชำนาญ. การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนไทยของสถานพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัด ร้อนเอ็ดในปี 2557. วารสารเภสัชกรรมไทย 2558;2:167- 77.

นภัสรัญชน์ ฤกษ์เรืองฤทธิ์ . ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยา สมุนไพรในโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553. 130 หน้า.

คัทลียากรณ์ ไวโอเร็ต. การประเมินการใช้ยาสมุนไพรและความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อการใช้ในโรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่ [การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552. 107 หน้า.

อรุณพร อิฐรัตน์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ภัควิภา คุโรปกรณ์พงษ์, ณรงค์ศักดิ์ สิงห์ไพบูลย์พร, ปราณี รัตนสุวรรณ, โสภา คำมี. ความรู้ ทัศนคติ ความพร้อมและพฤติกรรมการใช้สมุนไพรตามโครงการสาธารณสุขมูลฐานของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย [รายงานวิจัย]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2541.

กัญญาลักษณ์ สีสองสม, ณรงค์ ใจเที่ยง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของบุคลากร โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2563;6(เพิ่มเติม): 155-70.

กิตติธร ปานเทศ, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, ณัฐนารี เอมยงค์. ปัจจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการนำองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยมาให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2564;7(3):397- 409.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้