การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวานในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปี ที่ 1 อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • อภิญา ชอบงาม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ภิลันทน์ สังคง หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ดุษณีย์ สุวรรณคง สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ตั้ม บุญรอด สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ชำนาญ ชินสีห์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรม, พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวาน, นักเรียนชั้นมัธยมปี ที่ 1

บทคัดย่อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวานมุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีขึ้นในนักเรียน มัธยมศึกษาชั้นปีที 1 การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวานในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 76 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย Spearman Rho หา ค่าความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่ม หวาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 53.9 มีอายุ 13 ปี ร้อยละ 65.8 น้ำหนักสมส่วน ระหว่าง 18.50 - 24.99 ร้อยละ 55.26 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 86.8 รายได้ในครัวเรือน ระหว่าง 5,001- 10,000 บาท ร้อยละ 39.4 ไม่มีการตรวจสุขภาพในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 100.0 และนักเรียนไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสาร เรื่องโรคที่เกิดจากการดื่มหวาน ร้อยละ 60.5 ปัจจัยด้านรับรู้ความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การ รับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ต่ออุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการศึกษา ครู ผู้ปกครองและ หน่วยงานทีเกี ่ ่ยวข้องสามารถส่งเสริมความรู้ สร้างแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวาน ป้ องกันไม่ให้นักเรียนมีภาวะน้ำหนักตัวเกินและเกิดผลเสียต่อสุขภาพในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. เผยแนวโน้มเด็กไทยติดเครื่องดื่มชงรสหวาน แนะโรงเรียนจัดเครื่องดื่มหวานน้อย เป็นทางเลือกสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://multimedia.anamai. moph.go.th/news/news291065/

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจของกรม อนามัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://hp.anamai.moph.go.th/th/annualreport

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธาณสุข. ผลสำรวจ ชี้’เด็กไทย’85% บริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานเพิ่ม สูง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/ 184520/

ณัฐพัชร์ แก้วพิทักษ์คุณ. ทัศนคติและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มประเภท น้ำหวานของผู้บริโภคในช่วงมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2563.

Malik VS, Pan A, Willett WC, Hu FB. Sugar-sweetened beverages and weight gain in children and adults: a systematic review and meta-analysis. Am J Clin Nutr 2013; 98(4):1084-102.

กระทรวงสาธารณสุข. แนะนำปฏิบัติสุขบัญญัติ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// prgroup.hss.moph.go.th/news?start=9

งานอนามัยโรงเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองมิตรภาพที่ 148 พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 14 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: http:// nikomkhokpho148school.com/

Cunha D, Souza B, Pereira R, Sichieri R. Preventing excessive weight gain by encouraging healthy eating habits among adolescents in Brazil: a randomised community trial. The FASEB Journal 2012;26(1):257-7.

James J, Thomas P, Cavan D, Kerr D. Preventing childhood obesity by reducing consumption of carbonated drinks: cluster randomised controlled trial. BMJ 2004;328(7450):1237.

Levy TS, del Carmen Morales-Ruan M, Castellanos CA, Coronel AS, Aguilar AJ, Humarán IMG. School environment and its relationship with obesity in the state of Mexico. The FASEB Journal 2012;26(S1):629-9.

Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Educ Monogr 1974;2(4):328-35.

Israel BA. Social networks and social support implications for national helper and community level interventions. Health Educ Q 1985;12(1):65-80.

Rabiei L, Masoudi R, Lotfizadeh M. Evaluation of the effectiveness of nutritional education based on health belief model on self-esteem and BMI of overweight and at risk of overweight adolescent girls. Int J Pediatr 2017;5(8):5419-30.

Chiang WL, Azlan A, Mohd Yusof BN. Effectiveness of education intervention to reduce sugar-sweetened beverages and 100% fruit juice in children and adolescents: a scoping review. Expert Rev Endocrinol Metab 2022;17(2):179-200.

Mazarello Paes V, Hesketh K, O’Malley C, Moore H, Summerbell C, Griffin S, et al. Determinants of sugar-sweetened beverage consumption in young children: a systematic review. Obes Rev 2015;16(11):903-13.

สโรชา นันทพงศ์, นฤมล ศราธพันธุ์,อภิญญา หิรัญวงษ์. ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและพฤติกรรมการจัดอาหารสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนของผู้ปกครองโรงเรียนรัฐบาล จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยเกษตรศาสตร์ (สังคม) 2557; 35:235-44 .

Calabro R, Kemps E, Prichard I. Socio-cognitive determinants of sugar-sweetened beverage consumption among young people: a systematic review and metaanalysis. Appetite 2023;180:106334.

นภาพร เหมาะเหม็ง, ประทุม ยนต์เจริญล้ำ, สุธีรา พินิจ. การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2560; 7(1):67-74.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้