ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกาย ของสามเณร กรณีศึกษาพื้นที่โรงเรียนธรรมราชศึกษา จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
สมรรถภาพทางกาย, โปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกาย, สามเณรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายและความพึงพอใจของสามเณรก่อนและหลังการ เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกายของสามเณร โดยเป็นสามเณรในโรงเรียนธรรมราชศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในช่วงระหว่างอายุ 14-18 ปี เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกายของสามเณร จำนวน 34 รูป และกลุ่มควบคุมให้ ดำเนินกิจวัตรประจำวันตามปกติ จำนวน 36 รูป การทดลองนี้ใช้เวลา 8 สัปดาห์ต้องเข้าร่วมกิจกรรม 3 ครั้ง/สัปดาห์ และวัดผลลัพธ์ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย ความแข็งแรงและความอดทน ของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความแข็งแรง และความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ independent-sample t-test และ paired-sample t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความแข็งแรงและความ อดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกสมรรถภาพทางกายของสามเณร มีผลทำให้ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความแข็งแรงและความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น สามารถนำไปขยายผลใช้ในกลุ่มสามเณรกลุ่มอื่น ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายของสามเณร ทำให้เกิด ความยั่งยืนในการนำไปใช้ต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
อโนชา วิปุลากร. สถานการณ์ภาวะอ้วนของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 6 จังหวัดน่าน แพร่ พะเยา เชียงราย และลาปาง. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
มณฑินี มีสมบูรณ์. สมรรถภาพทางกายของผู้ใช้บริการ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย กรมพลศึกษา [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
สุภัทรชัย สุนทรวิภาต, เจริญ กระบวนรัตน์, นาทรพี ผลใหญ่. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบสถานีที่มีต่อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจของ นักเรียนหญิงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2562;45(1): 122-9.
ศูนย์อนามัยที 1 เชียงใหม่. คู่มือโปรแกรมทดสอบสมรรถภาพทางกายที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของสามาเณร อายุ 13-18 ปี. เชียงใหม่: ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่; 2558
นิวัฒน์ บุญสม. การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารวิชาการ Veridian Silpakom University 2560;10(2):2173-4.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.