การประเมินสถานภาพมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านโลหะหนักจากบ่อฝังกลบขยะ เปรียบเทียบพื้นที่จังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราด ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคตะวันออกประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ศักดิ์ ทองธรรมชาติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • หรรษา รักษาคม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์
  • เกศริน ขอหน่วงกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • กรกมล ดวงใส สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • โสภิดา เภาเจริญ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพสิ่งแวดล้อม, สถานภาพสิ่งแวดล้อม, บ่อฝังกลบขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมบริเวณโดยรอบบ่อฝังกลบขยะตามดัชนีชี้วัดคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และเพื่อประเมินสถานภาพมลพิษสิ่งแวดล้อมทีได้รับผลกระทบจากบ่อฝังกลบขยะ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดน ภาคตะวันออก คือ จังหวัดสระแก้วจำนวน 3 แห่ง และจังหวัดตราด จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 6 กำหนดดัชนีสิ่งแวดล้อมด้านโลหะหนักสำหรับแหล่งน้ำผิวดินและมลพิษทางดิน และดัชนีมลพิษทางอากาศ ทำการ เก็บตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและการตรวจวัดทางภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินและดัชนีมลพิษทางดินรอบบริเวณบ่อฝังกลบขยะทั้ง 5 แห่งด้านโลหะหนัก คือ สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) โครเมียม (Cr) ตะกั่ว (Pb) และแมงกานีส (Mn) ผ่านค่า มาตรฐานทุกตัว และได้คะแนนสถานภาพสิ่งแวดล้อมของคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินและมลพิษทางดินเท่ากับ 1 ซึ่งจัดเป็นสถานะธรรมชาติสมบูรณ์ ส่วนดัชนีคุณภาพอากาศโดยรอบบริเวณบ่อฝังกลบขยะ มีค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ไม่ผ่านค่ามาตรฐานดัชนีเป็นอย่างมาก ในขณะที่ค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีเทน ผ่านค่ามาตรฐานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนสถานภาพสิ่งแวดล้อมของคุณภาพอากาศก็ยังเท่ากับ 0.75 ซึ่งจัดเป็นภาวะเตือนภัย ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ จะต้องมีมาตรการในการเฝ้ าระวังและตรวจสอบทางด้านมลพิษทางอากาศ และด้านมลพิษทางดินโดยรอบบ่อฝังกลบขยะควบคู่กันต่อไปด้วย เพื่อการทวนสอบพิจารณาคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้ง 2 ด้านและต้องมีการกำหนดมาตรการเพื่อคัดกรองขยะสารพิษด้านโลหะหนัก โดยเน้นการรณรงค์ให้ภาคส่วนของ ประชาชนและเอกชนทำการคัดแยกขยะที่มีสารเคมีและสารพิษอันตราย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://consumersouth.org/paper/7

สำนักงานเขตสุขภาพที 6. ข้อมูลเขตสุขภาพที่ 6 จังหวัดชลบุรี่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: http://region6.cbo.moph.go.th/r6/index.php

สำนักงานคลังจังหวัดสระแก้ว. รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดสระแก้ว ฉบับที่ 3/2564 วันที่ 30 ก.ย. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/sakaeo- newsfiles-441891791126

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดตราด. แผนพัฒนาจังหวัดตราด พ.ศ. 2561- 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/ trat-strategic-files-421591791794

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว. ข้อมูล ขยะมูลฝอยจังหวัดสระแก้ว ประจำปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http:// www.sakaeolocal.go.th/public/uploads/online_document_interesting/1557894777.pdf

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์ด้าน ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของ จังหวัดตราด [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://dmcrth.dmcr.go.th/attachment/dw/download.php?

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการประเมินความเสียหายต่อการได้รับ ผลกระทบจากการปนเปื้อนมลพิษในดินหรือน้ำใต้ดิน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.pcd.go.th/hazards/

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำผิวดิน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/ laws/4168

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการปฏิบัติงานกระบบวนการวิเคราะห์ ดิน น้ำและพืชด้านสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้น เมื่อ 10 มี.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://www.ldd.go.th/ PMQA/2553/Manual/OSD-05.pdf

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพ ดิน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/laws/25162

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2535) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพ อากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้น เมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd. go.th/laws/2831

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2544) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพ อากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้น เมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd. go.th/laws/2822

American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). TLVs and BEIs. Cincinnati: ACGIH; 2015.

เกษม จันทร์แก้ว. การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน. พิมพ์ครั้งที 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2547.

สุธิดา อุทะพันธุ์, ณัฐพงศ์ แหละหมัน, เพลินพิศ สุวรรณ อำไพ, ภาสกร เผ่าพงษ์สวรรค์, กรรณิการ์ เมธนาวิท. การศึกษาการปนเปื้อนของสารพิษในสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอันตรายจากชุมชน. วารสารกรมควบคุมโรค 2556; 39(3):258-65.

Karnchanawong S, Limpiteeprakan P. Evaluation of heavy metal leaching from spent household batteries disposed in municipal solid waste. Waste Management 2009; 29(2):550-8.

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้