การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวขาว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • มงคล ลองจำนงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวขาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
  • เชาวรินทร์ คำหา สำนักงานเลขานุการกรม กรมสนับสนุนบริการสุุขภาพ

คำสำคัญ:

การป้องกันควบคุุมโรค COVID-19, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 โดยใช้กระบวนการเรียน รู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หนองบัวขาว อำเภอเมืือง จังหวัดชัยภูมิู เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – เดือนกันยายน 2564 เก็บข้อมูลเชิงคุุณภาพด้้วยการสัมภาษณ์์ เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 คน การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 36 คน และตัวแทนครัวเรือน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์เชิงเนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือน 250 คน และแบบประเมิินความเหมาะสมของ การพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้้แก่ สถิติ paired t-test และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่่ยงเบนมาตรฐาน ผลการ ศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ในชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการ (2) การมีส่วนร่วม (3) โครงสร้างการดำเนินงาน (4) เทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การสื่อสาร ในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และจากการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุุมโรค COVID-19 ทำให้ได้ 6 นวัตกรรม ได้แก่ (1) นวัตกรรมเครือข่ายป้องกันและควบคุมโรค (2) นวัตกรรม Community Health Station (3) นวัตกรรมปฐมภูมิู fast track (4) อสม. เดลิเวอรี่ (5) โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ อสม. และ (6) ระบบจัดการข้อมููล สุขภาพชุมชนออนไลน์ ผลการทดสอบรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ในตัวแทนครัวเรือน 250 คน จากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการวิจัยของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 36 คน มีความ เหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.81, SD=0.21) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำำรููปแบบ การดำเนินงานและนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในแต่ละบริบทพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อารียาจิรธนานุวัฒน์. การบริหารจัดการภาวะวิกฤตในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกแรก. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2565;16(3):370–88.

World Health Organization. WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [Internet]. 2020 [cited 2023 Mar 30]. Available from:https://www.who.int/direc¬tor-general/speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19- --11-march-2020

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, จิรพงศ์ วสุวิภา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลืือดออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2019;6 (1): 26–38.

มุกดา วิเศษ, นพดล พิมพ์จันทร์์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิิดรุนแรงมากโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2020;27 (2):1–11.

สมลักษณ์ หนูจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โดย ชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุุข 2022;31(4):665–73.

รัชนี เต็มอุุดม, ศิริลัักษณ์์ ใจช่วง, กนกพร ไทรสุวรรณ์, พเยาวดีี แอบไธสง, บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีีส่วนร่วมของชุุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้งกันควบคุุมโรคที่่ 7 ขอนแก่่น 2021 ;28 (1):1–13.

World Health Organization. COVID-19 strategic pre¬paredness and response plan 2022: global monitoring and evaluation framework [Internet]. 2022 [cited 2023 Mar 30]. Availablefrom: https://www.who.int/publi¬cations/m/item/covid-19-strategic-prepared¬ness-and-response-plan-2022--global-monitoring-and-evaluation-framework

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เครื่องมือและแนวทางการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 1 ม.ค. 2564]. แหล่งข้อมููล: http://www.hed.go.th/linkhed/file/868

ประกฤต ประภาอินทร์. แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการสร้างและต้นแบบพัฒนานวัตกรรมสุุขภาพ.วารสารสาธารณสุุขและวิทยาศาสตร์สุุขภาพ2020;3(3):132–42.

วิษณุ นิตยธรรมกุล, ภุมรินทร์ แซ่ลิ่ม, รายิน อโรร่า, วราลี อภินิเวศ, ปณิตา วรรณพิรุุณ, พัลลภ พิริยะสุรวงศ์, และคณะ. การนำเสนอรูปแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน.วารสารวิชาการแพทย์ภัยพิบัติ และฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ 2020;1(1):10–22.

Noack EM, Kleinert E, Müller F. Overcoming language barriers in paramedic care: a study protocol of the inter¬ventional trial ‘DICTUM rescue’ evaluating an app designed to improve communication between paramedics and foreign-language patients. BMC Health Serv Res 2020;20:223.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: ขั้นพื้นฐานปฏิสัมพันธ์วิจารณญาณ. กรุุงเทพมหานคร: อมริินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

Nutbeam D. Defining, measuring and improving health literacy. Health Evaluation and Promotion 2015;42:450– 5.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้