ผลการพัฒนาโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ในผู้ป่วยสารเสพติด อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • มงคล ลือชูวงศ์ โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, ผู้ป่วยสารเสพติด, โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมจิตสังคมบำบัด ประยุกต์ทีเพิ่มกิจกรรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในผู้ป่ วยสารเสพติด อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้สารเสพติดที่มารับบริการบำบัดสารเสพติดแบบผู้ป่ วยนอกของโรงพยาบาลกงไกรลาศ ระหว่างเดือน มกราคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 134 คน ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมฯ เป็นเวลา 4 เดือน เก็บข้อมูลโดย ใช้แบบสัมภาษณ์ประวัติเสพติด แบบรายงานบำบัดฟื้ นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศและแบบประเมินความฉลาด ทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและไคสแควร์ ผลการศึกษา พบกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 31 – 40 ปี สถานภาพสมรสโสด การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษา อาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้ต่อเดือนต่ำ กว่า 3,000 บาท กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามเริ่มใช้สารเสพติดครั้งแรกเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี (ร้อยละ 63.4) จาก สาเหตุเพื่อนชวน (ร้อยละ 44.0) และอยากลอง (ร้อยละ 28.4) ผลการบำบัดด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ พบว่าร้อยละ 93.7 เข้าร่วมโปรแกรมบำบัดฯ ครบ 4 เดือน โดยในจำนวนนี้สามารถหยุดเสพได้นาน 3 เดือน ร้อยละ 76.1 และกลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดทางอารมณ์ในเกณฑ์ปกติและสูงกว่ามากขึ้น ทั้งนี้ พบว่า ช่วงอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสาเหตุที่ใช้ยาเสพติดครั้งแรกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการเลิกเสพได้ใน 3 เดือน โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์ร่วมกับการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นและการติดตาม ในชุมชน สามารถใช้บำบัดผู้ป่ วยสารเสพติดในโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาด 30 เตียง ซึ่งมีทรัพยากรจำกัดได้อย่างมี ประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ชลอวัฒน์ อินปา, ชลภัชร ลันสุชีพ, อาทิตยา ภัทรมนัส. แผน ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ncmc. moph.go.th/home/upload/web_download/rptk5fmp8q8sk0soko.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัด การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดสำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามประมวล กฎหมายยาเสพติด [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล:https://www.chiangmaihealth. go.th/document/221101166727744069.pdf

ชลอวัฒน์ อินปา. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและ ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพมหานคร. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2565.

สกุลรัตน์ อุษณาวรงค์, ขนิษฐา นันทบุตร, ประยุทธ ชูสอน, รัตนาภรณ์ อัดธรรมรัตน์, ฉวี เย็นใจ, วรรณภา นิวาสะวัต, และคณะ. การศึกษาสภาพปัญหาการติดยาและสารเสพติด ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 2540;2(2):101-11.

วาสนา พัฒนกำจร.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาบ้า ของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2541;43(4):345-57.

ภัทราภรณ์ กินร, อภิชาติ เรณูวัฒนานนท์, วันเพ็ญ ใจปทุม. องค์ความรู้พื้นฐานในการบำบัดฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและ สารเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบ Matrix program. ปทุมธานี: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้ นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2563.

อมรรัตน์ บางพิเชษฐ์. ปัจจัยทีสัมพันธ์กับการสามารถติดตามผู้เข้ารับการบำบัดสารเสพติดแบบจิตสังคมบำบัด (Modified Matrix program) ได้ครบ 1 ปี. วารสารสวนปรุง 2557;30: 48-57.

อารี สุภาวงศ์. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่ วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดแบบประยุกต์ โรงพยาบาล ทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2559;36:160-70.

มงคล ลือชูวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทาง อารมณ์ของผู้ป่วยใช้สารแอมเฟตามีน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 2566 [อินเทอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: kklh.go.th/archives/4963

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด รพ. กงไกรลาศ. คู่มือบำบัด รักษาสารเสพติดแบบผู้ป่ วยนอกรูปแบบประยุกต์การบำบัด แบบความคิดและพฤติกรรม Matrix program 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: kklh.go.th/archives/4961

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่ (อายุ 18-60 ปี ) 2546 [อินเทอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://dmh-elibrary.org/items/ show/42

กนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล. ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อ การบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้รูปแบบการ บำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาล สวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2562;16(1): 23-33.

สวัสดิ์ อุ่นใจ, กิจวัฒ นาถวิล, ญาธษา พันวิไล, สุกัญญา กาญจนบัตร, มานพ คณะโต. การประเมินการใช้แมทริกซ์ โปรแกรมในการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 7 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;4:661-81.

เฉลิม โพธานารักษ์. อัตราการหยุดเสพของผู้ป่วยสารเสพติด หลังจากเข้าร่วมการบำบัดรักษาด้วยโปรแกรมกาย จิต สังคม บำบัดแบบประยุกต์ ในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร 2565;4(2):33-46.

ธนิตา หิรัญเทพ, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, รณชัย คงสกนธ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการ บำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่ง ประเทศไทย 2556;58(2):157-64.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ