การพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของประเทศไทย: กรณีการเกิดโรคระบาดสำคัญ

ผู้แต่ง

  • สุมนี วัชรสินธุ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พรทิพย์ วชิรดิลก ข้าราชการบำนาญ

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยง, ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข, โรคระบาดสำคัญ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของประเทศไทย และต่างประเทศกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงใน ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขกรณีการเกิดโรคระบาด ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพ ดำเนิน การใน 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐ เอกชน จำนวน 149 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการการสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของประเทศไทย ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงฯ ที่พัฒนาไปตรวจสอบความเหมาะสมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการสื่อสาร จำนวน 9 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 200 คน และระยะที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงฯ ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตช่วงการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เน้นสร้างความ เข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยมีการเตรียมการสื่อสารล่วงหน้าและใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เช่น สื่อสังคมออนไลน์ การพบกับสื่อมวลชน และส่งเสริมให้ประชาชนตัดสินใจและกระทำในลักษณะที่เหมาะสมเพื่อ รับมือกับความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ดี ผู้วิจัยจึงเสนอรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขชื่อว่า CAT-D model มี 4 องค์ประกอบได้แก่ (1) การจัดให้มีหน่วยงานสื่อสารความเสี่ยงระดับจังหวัดแบบเป็นโครงสร้าง ทางการ และมีหน่วยงานสื่อสารความเสี่ยงในภาคส่วนอื่นๆ การเตรียมโฆษกที่มีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารความ เสี่ยงพร้อมใช้ และมีแผนปฏิบัติการที่เชื่อมต่อจากระดับจังหวัดไปจนถึงส่วนกลาง (2) การสร้างความผูกพันกับกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม (3) การใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ และนวัตกรรมต่างๆ ในการ สื่อสาร รวมทั้งดำเนินการเมื่อมี infodemic เกิดขึ้น และ (4) การจัดตั้งระบบเก็บข้อมูลพร้อมใช้ที่มีการตรวจสอบ ความถูกต้อง ทั้งนี้ต้องทำงานร่วมกับ Joint Information Center: JIC เมื่อมีภาวะวิกฤติ โดยมีการดำเนินงานสำคัญ คือ การเตรียมความพร้อมในระยะก่อนวิกฤต การตอบสนองต่อภาวะวิกฤต และการฟื้ นฟูจากภาวะวิกฤต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พระราชบัญญัติป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550. ราช กิจจานุเบกษา เล่มที่ 124, ตอนที่ 52 ก (ลงวันที่ 7 กันยายน 2550).

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2566. อุบลราชธานี: สำนักงานป้ องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2566.

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร, บรรณาธิการ. การสาธารณสุขไทย 2559-2560. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์การพิมพ์; 2562.

กรมควบคุมโรค. ระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติ การภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล:http://www. ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20170616075301.pdf

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIDD-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรค การป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://ddc. moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238. pdf.

อังสุมาลี ผลภาค, ศิกานต์ อิสสระชัยยศ, อรวรรณ ประสิทธิ์ ศิริผล, ไอลดา สุขนาค, ปภาดา ราญรอน, แพรวา กุลัตถ์นาม และคณะ. การเงินการคลังสุขภาพเพื่อตอบสนองการแพร่ ระบาดโรคโควิด 19 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://www. hitap.net/wp-content/uploads/2023/05/Financing-Covid19_Single.pdf.

กรมควบคุมโรค. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉิน กรณีระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใน ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_1.pdf

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Coronavirus disease (COVID-19) Crisis & Emergency Risk Communication [Internet]. 2023 [cited 2023 May 1] Available from: https://emergency.cdc.gov/cerc/

Margie W. COVID-19 Leadership Lessons from Singapore: Be Ready, Be Bold, Be Decisive [Internet]. 2020 [cited 2023 May 5] Available from: https://www.forbes. com/sites/margiewarrell/2020/03/30/singapore-setsgold-standard-against-covid-19-be-ready-be-decisive-be-bold/?sh=58bff6ac7a22

Scholz J, Wetzker W, Licht A, Heintzmann R, Scherag A, Weis S, et al. The role of risk communication in public health interventions. An analysis of risk communication for a community quarantine in Germany to curb the SARS-CoV-2 pandemic. PLoS ONE 2021;16(8): e0256113.

Zhang L, Li H, Chen K. Effective risk communication for public health emergency: Reflection on the COVID-19 (2019-nCoV) outbreak in Wuhan, China. Healthcare (Basel, Switzerland). 2020; 8(1): 64.

Fearn-Banks K. Crisis communications: A casebook approach. New York: Routledge; 2016.

Given LM. The Sage encyclopedia of qualitative research methods. California; Sage publications; 2008.

Rohrmann B, editor Risk perception, risk attitude, risk communication, risk management: A conceptual appraisal. 15th Internaional Emergency Management Society (TIEMS) Annual Conference; 2008 June 17-19; Czech Republic. Brussels: Internaional Emergency Management Society; 2008.

WHO. Joint external evaluation of IHR core capacities of The Kingdom of Thailand, mission report: 31 October – 4 November 2022. Geneva: World Health Organization; 2023.

พรพิทักษ์ พันธ์หล้า. การวิเคราะห์ผลการประเมิน Global Health Security Index 2021 (พ.ศ.2564) ประเทศไทย. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

รุ่งเรือง กิจผาติ, จุฬาพร กระเทศ, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, วรยุทธ นาคอ้าย, กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม. การบริหารจัดการ สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย กรณีสถานการณ์โควิด 19 ในระดับประเทศ และ 8 พื้นที่บริบทเฉพาะของประเทศ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(6):975-97.

Zhen C, Mingwang C, Malin S. What determines urban resilience against COVID-19: City size or governance capacity? Sustainable Cities and Society 2021;57(103304):1-12.

สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. การสื่อสารทางยุทธศาสตร์ในภาวะวิกฤตของประเทศ กรณี ศึกษา: การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19). กรุงเทพมหานคร: สถาบันจิตวิทยาความ มั่นคง; 2566.

เยาวภา จันทร์เหมือน. การสื่อสารสุขภาพของกระทรวง สาธารณสุข กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(Suppl 1):S62-72.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช, ธิติภัทร คูหา, นริศรา เสนารินทร์, ธัญจิรา เพ็ญสิริกุล, รัชนก พิมพ์สะอาด, และคณะ. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์ โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และ แผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

Renn O, Levine D. Trust and credibility in risk communication. [Internet]. 2023 [cited 2023 May 1] Available from: https://www.researchgate.net/publication/ 279396741_Trust_and_credibility_in_risk_communication/citations#full-text

สตพร จุลชู, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, พิกุลแก้ว ศรีนาม, มธุดารา ไพยารมณ์, วาทินี คุณเผือก, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, และ คณะ. การดำเนินงานของพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวและ อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ภายใต้ระบบการบริการเป็น มิตรสำหรับประชากรต่างด้าว. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(3):538-49.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง,จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง,จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ, และคณะ. การถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

ประสงค์ รัศมียูงทอง, ยอดชาย สุวรรณวงษ์, สุภาพร พูลเพิ่ม, สิทธานนท์ แจ่มหอม. การพัฒนารูปแบบการจัดการ เครือข่ายชุมชนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านการสื่อสาร ความเสี่ยงสุขภาพของชุมชนรอยต่อชายขอบ จังหวัดสระบุรี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2566;38(1):187-99.

ปรีชา โอภาสสวัสดิ์ , ยอดชาย สุวรรณวงษ์. รูปแบบการ สื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพในการรับมือภาวะฉุกเฉินด้าน สาธารณสุขของชุมชนในจังหวัดสระบุรี กรณีการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสถาบันป้ องกันควบคุมโรคเขตเมือง 2564;6(2):232-49.

สุภาพร ครุสารพิศิฐ. การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารและการ ประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์. เอกสารวิชาการ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: กรมประชาสัมพันธ์; 2564.

กัญญรัตน์ เวชชาชีวะ. บทเรียนจากการสื่อสารขององค์กร อนามัยโลกในภาวะวิกฤต-กรณีศึกษาช่วงการระบาดโรค โควิด-19. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการต่างประเทศเทวะศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ; 2563.

Timothy CW, Holladay SJ. The handbook of crisis communication. New Jersey: Wiley-Blackwell; 2012.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ