การศึกษาโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อชะลอความเสื่อมการทำงานของไต
คำสำคัญ:
พฤติกรรมบริโภคอาหาร, หลักโภชนบำบัด, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรสุขภาพมีศักยภาพดำเนินการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารตามหลักโภชนบำบัด และจัดโครงการให้ผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังทำการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมบริโภคอาหารตามหลักโภชนบำบัดเพื่อฟื้ นการทำงานของไตให้ดีขึ้น ภายใต้การดูแลของบุคลากรสุขภาพที่ให้ความช่วยเหลือตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต ทั้งนี้วิธีดำเนินการวิจัยนี้ได้ปรับมาจากแนวทางงานวิจัย เมื่อปี พ.ศ. 2562 ของผู้วิจัยที่ได้ทำการศึกษากึ่งทดลองในผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรัง โดยพบว่ามีผลลัพธ์ช่วยให้การ ทำงานของไตดีขึ้นในระยะเวลา 4 สัปดาห์ การศึกษาครั้งนี้ได้จัดดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2567 โดยระยะแรก ได้ทำการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพตาม แนวทางเวชศาสตร์วิถีชีวิต 2 ครั้ง อาสาสมัครเป็น เจ้าหน้าที่พยาบาล และนักโภชนาการ จำนวน 13 คน ระยะที่ สอง บุคลากรสุขภาพที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารตามแนวทาง เวชศาสตร์วิถีชีวิตให้แก่กลุ่มอาสาสมัครผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 51 คน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้ง ผล จากการศึกษาในระยะที่ 1 ในกลุ่มบุคลากร พบว่ามีคะแนนความรู้โดยรวม (25.69±2.18 vs 27.08±2.10, p<0.05) คะแนนความรู้ โรคไตเรื้อรัง (12.08±0.86 vs 12.62±0.87, p<0.05) คะแนนความรู้หลักโภชน บำบัดสำหรับโรคไตเรื้อรัง(11.15±1.14 vs 12.39±1.33, p<0.05) และมีทักษะการสนทนาสร้างแรงจูงใจ ส่วนผลการศึกษาระยะที่ 2 ในกลุ่มผู้ป่ วย พบว่า มีพฤติกรรมบริโภคอาหารผลลัพธ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (71.58±10.17 vs 74.28±9.93, p<0.05) จำนวนผู้ป่ วยที่พบว่าไตทำงานดีขึ้น ร้อยละ 49.02 ในการเข้าร่วม โปรแกรมครั้งที่ 2 ไตทำงานดีขึ้นร้อยละ 41.18 ในการเข้าร่วมครั้งที่ 3 และไตทำงานดีขึ้นร้อยละ 41.18 ในการ เข้าร่วมครั้งที่ 4 โดยพบว่ามีสถานที่ทำการศึกษาหนึ่งแห่งที่พบว่า การทำงานของไตดีขึ้นในผู้ป่ วยทุกราย ที่มา ร่วมโครงการวิจัยในครั้งที่ 2 และการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีแนวโน้มการทำงานของไตดีขึ้น ค่า creatinine ลดลง ในครั้งที่ 4 และระดับน้ำตาลหลังอดอาหารได้รับการควบคุมลดลงในทุกครั้ง
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Jager KJ, Kovesdy C, Langham R, Rosenberg M, Jha V, Zoccali C. A single number for advocacy and communication-worldwide more than 850 million individuals have kidney diseases. Kidney Int 2019;96(5):1048–50.
The Nephrology Society of Thailand. Clinical practice recommendations for evaluation and management of chronic kidney disease in adults 2022 (revised edition). Bangkok: Srimuang Printing; 2022.
Bureau of Policy and Strategy, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Thailand public health statistics 2013. Bangkok: War Veterans Organization of Thailand Press; 2013.
Chaiopanont S, Chotiwichian S, Khosorn K, Lertpatarapong P. The study of modifying consumption behavior to delay renal deterioration in chronic kidney disease patients in Nonthaburi province: a quasi-experimental study with control group. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health 2019;42(1):70- 81.
Frates B. Empowering people to change. In: Frates B, Bonnet JP, Joseph R, Peterson JA. Lifestyle medicine handbook: an introduction to the power of healthy habits. Monterey: Healthy Learning; 2019. p. 43-88.
The Nephrology Society of Thailand and National Health Security Office. Manual of the early stage chronic kidney disease management. Bangkok: Union ultraviolet printing; 2012.
Miller WR, Rollnick S. Motivational interviewing: helping people change. 3rd ed. New York: The Guilford Press; 2012.
Contini MDC, Fabro A, Millen N, Benmelej A, Mahieu S. Adverse effects in kidney function, antioxidant systems and histopathology in rats receiving monosodium glutamate diet. Exp Toxicol Pathol 2017;69(7):547-56.
Dejkhong T. Motivational interviewing for NCDs; MI NCDs [Internet]. 2017 [cited 2024 Mar 1]. Available from: https://dmh-elibrary.org/items/show/275.
Rippe JM. Nutrition in lifestyle medicine: overview. In: Rippe JM, editor. Nutrition in lifestyle medicine. Cham, Switzerland: Humana Press; 2017. p. 3-12.
World Health Organization. Noncommunicable diseases [Internet]. 2023 [cited 2024 May 7]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ noncommunicable-diseases
Basile DP, Anderson MD, Sutton TA. Pathophysiology of acute kidney injury. Compr Physiol 2012;2(2):1303– 53.
Lally P, van Jaarsveld CHM, Potts HWW, Wardle J. How are habits formed: modelling habit formation in the real world. Eur J Soc Psychol 2010;40(6):998–1009.
Weis L, Metzger M, Haymann JP, Thervet E, Flamant M, Vrtovsnik F, et al. Renal function can improve at any stage of chronic kidney disease. PLoS One 2013; 8(12):e81835.
Prochaska JO, DiClemente CC, Norcross JC. In search of how people change: applications to addictive behaviors. Am Psychol. 1992;47(9):1102–14.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.