ผลการพัฒนาชุดความรู้ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข กรณีการพบผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่รายแรก ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ดรุณี โพธิ์ศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • เอกลักษณ์ เอี่ยมประดิษฐ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • เอกพล เสมาชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบชุดความรู้, โรคอุบัติใหม่, การควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำชุดความรู้ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระดับจังหวัดโดยเป็นการถอดบทเรียน ค้นคว้า และศึกษาจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานจริงในสถานการณ์การเผชิญโรคอุบัติใหม่เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ การศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ การเตรียมการและศึกษาข้อมูล การสร้างชุดความรู้ การนำชุดความรู้ไปปฏิบัติ และการสรุปประเมินผล ผลการศึกษาทำให้พบการสร้างโมเดลใหม่ คือ 2P1D2R ประกอบด้วยการป้องกันและลดผลกระทบ คือประเมินสถานการณ์ ติดตามสถานการณ์ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ อัพเดทความรู้ สื่อสารข้อเท็จจริงให้แก่ประชาชนทราบ การเตรียมความพร้อม พัฒนาเครือข่าย สื่อสารแนวทางการเฝ้าระวัง การซ้อมแผน การเตรียมพร้อมระบบ (incident command system - ICS) ห้องปฏิบัติการ สถานที่รองรับผู้ป่วย กำหนดแนวทางการบริหารจัดการผู้สัมผัสเสี่ยง และวางระบบรายงานที่ถูกต้องและรวดเร็ว การเฝ้าระวัง รวมทั้งการตรวจจับการระบาด ทุกสถานพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรอง และตรวจจับโรคอุบัติใหม่ได้ มีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด ส่งตรวจวินิจฉัย และ ยืนยันทางห้องปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว การตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน มีการเปิดศูนย์การตอบโต้ จัดหาและบริหารทรัพยากรประสานระดมสรรพกำลังด้านการแพทย์และสาธารณสุข จัดระบบเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ ฟื้นฟูหลังเกิดเหตุ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ติดเชื้อและญาติให้กลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติจากแนวทางการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินโดยทีมสุขภาพจิต ผลการประเมินความพึงพอใจชุดความรู้พบว่า มีความพึงพอใจระดับสูงและสามารถนำชุดความรู้นี้เป็นต้นแบบที่จังหวัด อื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในกรณีหากประเทศไทยเกิดวิกฤตการณ์การพบโรคอุบัติใหม่ต่อไป ข้อเสนอเพื่อพัฒนาในครั้งนี้คือกระทรวงสาธารณสุขควรผลักดันหลักสูตรระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ICS มีการพัฒนาความสามารถในการตรวจโรคอุบัติใหม่ทางห้องปฏิบัติการทุกเขตสุขภาพ และการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพด้านการเฝ้าระวังสอบสวน ควบคุมโรค ในส่วนของจังหวัดควรมีการฝึกซ้อมการระบบบัญชาการให้แก่ผู้ปฏิบัติงานต่อเนื่องต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ