โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความวิตกกังวลและความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านปัจจัยประชากรศาสตร์ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เชาวรินทร์ คำหา
  • สุริยมิตร พุ่มโพธิ์งาม
  • สายชล สู่สุข

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล; ความรอบรู้ด้านสุขภาพ; โควิด-19; ประชากรศาสตร์

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความวิตกกังวล และความรอบรู้ด้านสุขภาพในของประชากรวัยผู้ใหญ่ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของประกรวัยผู้ใหญ่ และ (3) ศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความวิตกกังวลและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านปัจจัยประชากรศาสตร์ในสถานการณ์ระบาดของโรค COVID-19 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - เมษายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรไทย อายุ 15-59 ปี จำนวน 1,100 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความวิตกกังวลของกรมสุขภาพจิต และแบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ordered logistic regression การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ความวิตกกังวลต่อโรค COVID-19 ภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ(53.27%) ความรอบรู้ด้านสุขภาพภาพรวม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (62.00%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (OR=0.85, 95%CI: 0.84 0.86) เพศ (OR=0.34, 95%CT:0.27 0.48) อายุ (OR=2.61, 95%CT: 1.92 3.57) ประวัติการเป็นโรคเรื้อรัง (OR=1.72, 95%CI: 1.26 2.36) และประวัติการติดเชื้อ (OR=0.57, 95%CT: 0.40 0.79) และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความวิตกกังวลกับความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านปัจจัยประชากรศาสตร์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (p=0.0994,Chi-square=6.265, TLI=0.987, CFI=0.997, SRMR = 0.015, RMSEA = 0.031) และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลได้เท้ากับร้อยละ 56.34

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้