การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, การลดความแออัดในการเข้ารับบริการ, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกย่าง ภายได้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่ม 1 คือผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 228 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง กลุ่ม 2 คือเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ประกอบด้วย แพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และแกนนำสุขภาพของชุมชน รวมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน โดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการและการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิจัยใน 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นตอนการวิเคราะห์สถานการณ์ (2) ขั้นตอนวางแผนกิจกรรม (3) ขั้นตอนดำเนินงานและกำกับติดตามผล (4) ขั้นตอนสะท้อนผลปฏิบัติ และ (5) ขั้นตอนการประเมินผล ตามแนวทางการจัดรูปแบบบริการคลินิกโรคเรื้อรังตามหลักการเวชศาสตร์ครอบครัวและมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาตั้งแต่มีนาคม 2563 ถึงกุมภาพันธ์ 2564 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการคลินิกโรคเรื้อรังประกอบด้วย (1) การจัดตั้งสถานีสุขภาพในทุกหมู่บ้าน (2) การให้ อสม. เป็นผู้ช่วยเหลือบริการ เบื้องต้นแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (3) การให้ อสม.เป็นผู้รับและนำส่งยาแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (4) การปรับปรุงรูปแบบบริการของคลินิกโรคเรื้อรัง และ (5) การประเมินผลการลดความแออัดและลดเวลารอคอยในการบริการ ผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามกรถลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยอของผู้ป่วยได้จริง และทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้ป่วยไม่ขาดยา ส่งผลต่อการควบคุมระดับความรุนแรงของโรคและไม่เกิดภาวะแทรกช้อนกับผู้ป่วย และยังทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากถึงร้อยละ 97.36 รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมกับการพัฒนาใช้ตามบริบทและสถานการณ์ปัญหาของแต่ละพื้นที่ ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.