การรักษาผู้ป่วยวัณโรคดือยาหลายขนานด้วยสูตรยาระยะสัน 9 เดือน ครั้งแรกในประเทศไทย: 2560-2561

ผู้แต่ง

  • ธิดาพร จิรวัฒนะไพศาล
  • อภิเชษฐ์ สุพรรณวัฒน์
  • ศิวรัตน์ นามรัง

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยา; วัณโรคดื้อยาหลายขนาน; สูตรยาระยะสั้น 9 เดือน

บทคัดย่อ

                กระทรวงสาธารณสุขโดยกองวัณโรค กรมควบคุมโรคร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคดื้อยาร่วมกันพัฒนาแนวทางการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานด้วยสูตรยาระยะสั้น (Shorter regimen: STR) 9 เดือน ให้แก่ผู้ป่วยวัณโรค ดื้อยา rifampicin resistant (RR) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน multi-drug resistant (MDR) ทั่วประเทศครั้งแรกปีพ.ศ. 2560-2561 สูตรยา STR ประกอบด้วยยาจำนวน 7 รายการ ได้แก่ moxifloxacin, protionamide, clofazimine, pyrazinamide, high dose isoniazid, ethambutol และ kanamycin ให้ดำเนินงานรูปแบบ operational research เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาการใช้ยาสูตรใหม่นี้ในประเทศไทย องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เป็นการศึกษาควบคู่ไปกับการดำเนินงานให้บริการการดูแลรักษาในประเทศครั้งแรก เป็นเหตุเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยนี้ การศึกษาดำเนินการในกลุ่มประชากรทั่วประเทศให้สมัครเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยกำหนดจำนวนผู้รับการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 110 ราย ตามปริมาณยาที่สามารถจัดซื้อได้ด้วยงบประมาณจากโครงการกองทุนโลก เจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในปีงบประมาณนั้น ผลการศึกษามีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 110 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 72.72) น้ำหนักเฉลี่ย 52.50±9.16 กิโลกรัม อายุ 48.67±13.70 ปี รักษาหาย 80 ราย (ร้อยละ 73.64) ออกจากการรักษา 30 ราย เสียชีวิต 7 ราย จากตับอักเสบ ไตวาย หัวใจวาย ติดเชื้อ ทานอาหารไม่ลง ทุพโภชนาการและฆ่าตัวตาย  และไม่ทราบสาเหตุ ขาดการรักษา 6 ราย ที่เหลือมีอาการไม่พึงประสงค์เปลี่ยนไปใช้สูตรดั้งเดิม 20 เดือน ผู้ป่วย 107 ราย มีผลเสมหะลบหลังรักษา 2 เดือน ร้อยละ 95 มีผลเสมหะลบหลังรักษา 1 เดือน ร้อยละ 61.8อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากคือ คลื่นไส้อาเจียน 15 ราย หูอื้อ 1 ราย QT-prolong 7 ราย ตับอักเสบ 7 ราย (แพทย์ปรับขนาดยาอาการกลับมาเป็นปกติ) สูตร STR มีข้อดีทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีผลเสมหะลบในระยะเวลา 1-2เดือน ลดเวลาการรักษาจาก 20 เดือน เหลือ 9 เดือน ค่ายา ค่าตรวจติดตามผลการรักษา ค่าเดินทาง ควรเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากยาเชิงรุก (active drug safety and monitoring: aDSM) และรายงานในระบบออนไลน์ที่สำนักวัณโรคได้จัดทำขึ้นให้เป็นระบบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นเช่น คลื่นไส้อาเจียน ตับอักเสบ และ 0T-prolong

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง