ผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วยการใช้ระบบโทรเวชกรรมในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลวิเชียรบุรี

ผู้แต่ง

  • นุจรี เสนิรัตน์

คำสำคัญ:

โทรเวชกรรม; โรคสมองเสื่อม; ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมด้วยการใช้ระบบโทรเวชกรรมในคลินิก ผู้สูงอายุโรงพยาบาลวิเชียรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาล วิเชียรบุรี จำนวน 20 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 - ธันวาคม 2566 เครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ (1) แบบประเมิน Informant Questionnaire on Cognitive Decline (IOCODE) (2) แบบ คัดกรองสมรรถภาพความจำ 14 ข้อคำถาม (3) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทยและ (4) แบบตรวจอาการสมองเสื่อม Thai Mental State Examination (TMSE) และประเมินความพึงพอใจต่อการ รักษาด้วยการใช้ระบบโทรเวชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างอาการหลังการรักษา โดยใช้สถิติ paired t-test วัดผลที่ระยะเวลา 0 และ 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 65.0 อายุเฉลี่ย 74.05 (SD=7.91) ปี มีคะแนน IQCODE ก่อนการรักษาเฉลี่ย 4.52 (SD=0.54) คะแนน หลังการรักษาเฉลี่ย 4.06 (SD=0.68) คะแนนการคัดกรองสมรรถภาพความจำ 14 ข้อคำถาม ก่อนการรักษาเฉลี่ย 49.50 (SD=7.77) คะแนน หลังการรักษาเฉลี่ย 43.95 (SD=8.29) คะแนน คุณภาพชีวิตก่อนการรักษาเฉลี่ย 68.8 (SD=9.18) คะแนน หลังการรักษาเฉลี่ย 79.4 (SD=7.28) คะแนนคะแนน TMSE ก่อนการรักษาเฉลี่ย 13.85 (SD=4.64) คะแนน หลังการรักษาเฉลี่ย 16.7 (SD=4.15) คะแนนผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของโรงพยาบาลวิเชียรบุรี โดยรวมแล้วกลุ่มตัวอย่างเมื่อแรกรับมีปัญหาภาวะสมองเสื่อมอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งสังเกตได้จากการประเมินภาวะสมอง ในทั้ง 4 ด้าน หลังจากนำระบบโทรเวชกรรมมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว 6 เดือน ผู้ป่วยมีแนวโน้มของการดำเนินโรคไปในทิศทาง ที่ดีขึ้น ตลอดจนผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการรับบริการด้วยระบบโทรเวชกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง