ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตีตราวัณโรคในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, การตีตราวัณโรค, ความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด, ทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคปอด, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตีตรา วัณโรคในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเด็ก-นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 630 คน ที่มีอายุระหว่าง 15-19ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (1) ด้านข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร (2) ด้านความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด (3) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคปอด และ (4) ด้านการตีตราเกี่ยวกับวัณโรค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi square test และ Fisher's exact test ผลการวิจัย พบว่า เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ระหว่างปัจจัยทางด้านลักษณะประชากร ระดับความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด ระดับทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคปอดและการตีตราเกี่ยวกับวัณโรคปอด พบว่า เพศ อายุ ชั้นเรียน และลักษณะของที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์กับการตีตราเกี่ยวกับวัณโรคปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับวัณโรคปอด มีความสัมพันธ์กับการ ตีตราเกี่ยวกับวัณโรคปอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.05) ขณะที่ระดับความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด ไม่มีความ-สัมพันธ์กับการตีตราเกี่ยวกับวัณโรคปอด จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการส่งเสริม กิจกรรมความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด การเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวก ตลอดจนการผลักดันนโยบายในการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยวัณโรคทั้งทางตรงและทางอ้อมในสถานศึกษา เช่น โรงเรียนของรัฐหรือเอกชน อาชีวะศึกษา และมหาวิทยาลัย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.