อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้าและภาวะสมองพิการในเด็กอายุ 0-6 ปี ณ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ระบาดวิทยา, อุบัติการณ์, ปัจจัยเสี่ยงสูง, พัฒนาการล่าช้า, สมองพิการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้าและภาวะสมองพิการในเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ปี จำนวน 905 คน ที่มารับการรักษาครั้งแรก ณ คลินิกพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สืบค้นข้อมูลเวชระเบียนย้อนหลังระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้านมารดา ทารก และการเกิดอุบัติการณ์โดยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้าและภาวะสมองพิการโดยสถิติ Chi-square test, Fisher's exact test และ crude odds ratio ที่ค่าความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา พบว่า อุบัติการณ์พัฒนาการ ล่าช้า ร้อยละ 19.78 คิดเป็นหน่วย 14.13 ต่อ 1,000 เด็กมีชีพของเด็กที่เกิด ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช และอุบัติ-การณ์ภาวะสมองพิการ ร้อยละ 11.27 คิดเป็นหน่วย 8.05 ต่อ 1,000 เด็กมีชีพของเด็กที่เกิด ณ โรงพยาบาลพุทธ-ชินราช ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพัฒนาการล่าช้า (p<0.05) ในระยะก่อนคลอด คือ โรคทางพันธุกรรมและภาวะครรภ์-เป็นพิษ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญระยะระหว่างคลอด 2 อันดับแรก (1) ภาวะคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 32-37 สัปดาห์และน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่ากำหนด และ (2) คลอดครบกำหนดแต่มีภาวะแทรกซ้อนวิกฤต ปัจจัยเสี่ยงสำคัญระยะหลังคลอด 3 อันดับแรก คือ โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิด ภาวะหายใจลำบาก และโรคเส้นเลือดหัวใจเกิน ด้าน ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อภาวะสมองพิการ (p<0.05) คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองขาดเลือด ชัก และขาดออกซิเจนแรกคลอด โดยส่วนใหญ่พบเด็กสมองพิการประเภทมีความผิดปกติของร่างกายทั้งสองซีก ทั้งนี้ตามพันธกิจของคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การติดตามผลการรักษา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการอย่างเหมาะสมหรือมีความเสี่ยงต่อความล่าช้าและความพิการให้น้อยที่สุด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.