การศึกษารูปแบบการดูแลประชาชนผู้สูงวัยที่เหมาะสม กรณีศึกษาประชากรผู้สูงวัยชุมชนริมคลองลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, สุขภาวะ, อาสาสมัครสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนผู้สูงวัย และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับการดูแลด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนผู้สูงวัย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้สูงวัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้สูงวัยที่มีอายุระหว่าง 60-85 ปี อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนริมคลองลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และต้องไม่เป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 30 คน และกลุ่มอาสาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ที่ดูแลในพื้นที่ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOOL-BREF-THAI) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้วัดได้กับทุกช่วงวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษารูปแบบการดูด้านสาธารณสุข สำหรับประชาชนผู้สูงวัย พบว่า มี 4 รูปแบบ ได้แก่ การดูแลผู้สูงวัยด้วยตัวผู้สูงวัยเอง การดูแลผู้สูงวัยโดยครอบครัวการดูแลผู้สงวัยโดยหน่วยงานหรือองค์กร และการดูแลผู้สงวัยโดยชุมชน (2) การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับการดูแลด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนผู้สูงวัยในชุมชน มี 4 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ (1) ศึกษาบริบทของชุมชมชนและสถานการณ์ผู้สูงวัยในชุมชน กำหนดบทบาทและหน้าที่ของภาคีเครือข่าย จัดทำแผนเพื่อดูแลผู้สูงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน ด้วยเทคนิค A-I-C (Planning) (2) จัดกิจกรรมตามแผน เพื่อดูแลผู้สูงวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน (Action) (3) ประเมินคณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชน (Observation) และ (4) ถอดบทเรียน (Reflection) หลังจากมีการใช้รูปแบบการดูแลด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชนผู้สูงวัยที่เหมาะสมพบว่า ประชากรผู้สูงวัย มีผลการประเมิน คุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยในชุมชนตามองค์ประกอบ ด้านสุขภาพ ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านคุณภาพชีวิตโดยรวม เปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงวัย พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทุกองค์ประกอบ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.