การพัฒนาแนวทางปฏิบัติทางคลินิกโดยใช้ Fecal Occult Blood Test ร่วมกับอาการทางคลินิกในการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง
คำสำคัญ:
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, การตรวจ fecal occult blood, แนวทางปฏิบัติทางคลินิกบทคัดย่อ
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่สามารถวินิจฉัยได้โดยการทำ colonoscopy แต่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กไม่สามารถตรวจ colonoscopy ได้ การนำแนวทางปฏิบัติทางคลินิกมาใช้ในโรงพยาบาลชุมชนจึงมีความจำเป็น และ ต้องมีการศึกษาเพื่อดูประสิทธิภาพ การศึกษาจึงออกแบบเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผลโดยรวบรวมอาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงร่วมกับการใช้ fecal occult blood test นำมาพัฒนาเป็นแนวทางปฏิบัติทางคลินิก และนำไปใช้ศึกษาในผู้ป่วยแผนกศัลยกรรมผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลยโสธร โรง-พยาบาลอำนาจเจริญ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดยโสธร ผลการศึกษา มีผู้ป่วยทั้งหมด 447ราย พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไส้ตรง 88 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.69 การใช้แนวทางปฏิบัติทางคลินิกมีค่า sensitivity 93.18%, specificity 68.52%, positive predictive value 42.05%, negative predictive value 97.62% ส่วนอาการที่มีโอกาสพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงได้มากคือ ถ่ายเป็นมูกเลือด คลำได้ ก้อนที่ท้อง และผลตรวจ fecal occult blood test ให้ผลเป็นบวก สรุป ผู้ป่วยที่มีอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่ fecal occult blood test เป็นบวก ถ่ายเป็นมูกเลือด คลำได้ก้อนที่ท้อง หรือได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้นควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของโรค
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.