การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียวประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สหภาพ พูลเกสร สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สมคิด คงอยู่ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อาทิชา วงษ์คำมา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วันเสน่ห์ โตอนันต์ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • วิมวิการ์ ศักดิ์ชัยนานนท์ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์, จุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส, อุปสรรค, สุขภาพหนึ่งเดียว

บทคัดย่อ

แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวเป็นการเสริมสร้างปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาในการแก้ไขปัญหาโรคและ ภัยสุขภาพ ทั้งในคน ในสัตว์ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ-อุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2556 -2559 ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคของการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียวในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน สุขภาพหนึ่งเดียวได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการป้องกัน ควบคุมโรค และการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งข้อมูลสำคัญ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของการดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียวในประเทศไทย และ (2) การคัดเลือก ยุทธศาสตร์ด้วยตารางวางแผนยุทธศาสตร์เชิงปริมาณ ประกอบด้วย การประเมินปัจจัยภายนอกและภายใน ให้ค่า ถ่วงน้ำหนัก จัดกลุ่มทางกลยุทธ์ และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ ผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อประเมิน ปัจจัยภายนอกและภายในแล้ว ผลการถ่วงน้ำหนักปัจจัยภายนอกและภายใน ตกอยู่ในช่องกลยุทธ์การแข่งขัน ซึ่งหมายถึงจะต้องเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีความเหมาะสมและใช้จุดแข็งที่มีอยู่เพื่อเอาชนะหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคและเมื่อวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของกลยุทธ์พบว่า กลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนางานสุขภาพหนึ่งเดียวสามลำดับแรก คือ (1) สร้างความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องสุขภาพ-หนึ่งเดียวในการเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคติดต่อประจำถิ่นและโรคติดต่ออุบัติใหม่ (2) ประสานความ ร่วมมือระหว่างภาคส่วนในการรายงานการระบาดของโรคติดต่อในสัตว์และคนพร้อมจัดทำระบบมาตรฐานข้อมูลและนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ มาใช้เพื่อการเฝ้าระวัง และ (3) พัฒนางานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศรวมทั้งด่านบริเวณชายแดน โดยการส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรคในคน สัตว์ และสัตว์ป่า ที่บริเวณช่องทางเข้าออก-ประเทศ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้การดำเนินกิจกรรมตอบสนองโรคและภัยสุขภาพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-01

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้