การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการยาเคมีบำบัดมูลค่าสูง
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การบริหารจัดการยา, ยาเคมีบำบัด, มูลค่าสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารเวชภัณฑ์และลดผลกระทบทางการเงิน ที่เกิดจากการใช้ยาเคมีบำบัดมูลค่าสูง โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม 2558 - สิงหาคม 2559 ในโรงพยาบาลสุรินทร์ กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ เภสัชกร 5 คน และทีมสหสาขา-วิชาชีพในศูนย์มะเร็งเจ้าหน้าที่ศูนย์จัดเก็บรายได้ รวม 7 คน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์ปัญหา พัฒนาระบบและประเมินผล ใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาสถิติเชิงพรรณนา และ paired f-test ผลการศึกษาพบว่า ระบบบริหารเวชภัณฑ์มีจุดอ่อนในการสื่อสาร พัฒนาโดยเพิ่มให้หน่วยผลิตยารายงานสถานะการใช้ยาเคมีบำบัดมูลค่าสูง 8 รายการ ผลการพัฒนาพบยาใกล้หมดอายุและยาขาดคลังลดลงเป็นศูนย์ ด้านการลดผลกระทบทางการเงินของผู้ให้บริการพบปัญหาผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจต่อระบบการชดเชยของกองทุนสุขภาพ พัฒนาระบบในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใช้ 3 มาตรการ ได้แก่ปรับแนวทางการขออนุมัติใช้ยา non-protocol เพิ่มการลงทะเบียนผูป่วยมะเร็งให้ครบถ้วน และปรับเปลี่ยนยาให้มีราคาถูกลง พบว่าผลรวมการชดเชยแต่ละมาตรการเพิ่มจากก่อนการพัฒนา (p<0.05) ด้านการลดผลกระทบทางการเงินของผู้รับบริการพบปัญหาผู้ปฏิบัติขาดความเข้าใจเงื่อนไขของบริษัทยาและเห็นว่ายุ่งยาก ทำให้ผู้ป่วย ที่ต้องจ่ายเงินซื้อยาไม่ได้รับส่วนแถม พัฒนาโดยจัดทำแนวทางปฏิบัติช่องทางพิเศษ ผลพบว่าผู้ป่วยประหยัดค่ายาตลอดคอร์สได้ครึ่งหนึ่งเป็นมูลค่า 436,560 บาท ดังนั้น โรงพยาบาลในระดับตติภูมิขึ้นไปควรวิเคราะห์ระบบบริหาร-จัดการยาเคมีบำบัดมูลค่าสูง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลกระทบด้านลบต่อการเงินน้อยที่สุด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.