การเปรียบเทียบสมรรถภาพการได้ยินในพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปหินกับพนักงานโรงแรม
คำสำคัญ:
การสูญเสียการได้ยิน, คนทำงานแปรรูปหิน, เสียงจากการทำงาน, การตรวจสมรรถภาพการได้ยินบทคัดย่อ
อุตสาหกรรมแปรรูปหินเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวตามการเติบโตของเศรษฐกิจ มีกระบวนการทำงาน ที่ก่อให้เกิดเสียงดัง และมีการสัมผัสปัจจัยที่เร่งให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน แตกต่างจากอาชีพอื่นๆ จำเป็น ต้องมีการประเมินการสูญเสียการได้ยินในพนักงาน และค้นหาปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการทำงานที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพการได้ยินในพนักงานในอุตสาหกรรมแปรรูปหิน กับพนักงานโรงแรม และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลเพิ่มการ สูญเสียการได้ยิน โดยการประเมินระดับเสียงในสภาพแวดล้อมการทำงาน ร่วมกับการวัดสมรรถภาพการได้ยินผลการศึกษาพบว่าระดับเสียงในการทำงานของกลุ่มแปรรูปหิน สูงกว่ากลุ่มโรงแรม (61.30-93.00 ต่อ 50.00-73.70 dBA) ค่าเฉลี่ยระดับเริ่มการได้ยินในกลุ่มแปรรูปหิน ที่ความถี่ 500 และ 1,000 Hz มีค่าสูงกว่ากลุ่มพนักงานโรงแรม (500 Hz: หูช้าย 28.39 ต่อ 20.77, หูขวา 28.39 ต่อ 21.41 dB, 1,000 Hz: หูซ้าย 22.59 ต่อ 15.77, หูขวา 20.80 ต่อ 15.90 dB, p:0.05) โดยไม่พบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระดับเริ่มการได้ยินในช่วงความถี่ 3,000-6,000 H2 ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังอย่างเดียว ปัจจัยที่อาจจะเร่งให้เกิดการสูญเสียการได้ยินที่ช่วงความถี่ต่ำคือการสัมผัสสารพิษต่อระบบประสาทการได้ยิน ที่ปนอยู่ในไอเสียของยานยนต์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปหิน การสูญเสียการได้ยินในช่วงความถี่ 500-2,000 Hz เป็นความถี่ที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันหากความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินเพิ่มขึ้น ดังนั้นในพนักงานแปรรูปหินควรมีมาตรการป้องกันการสัมผัสเสียงดังในสภาพแวดล้อมการทำงาน และมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังการเกิดการสูญเสียการได้ยิน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.