การประเมินความเสี่ยงของกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคในอาหารต่อคนไทย

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี ธีรภาพธรรมกุล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พนาวัลย์ กลึงกลางดอน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เสกสรร ทองโพธิ์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พัชริดา พิชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 (เชียงใหม่)
  • กนกวรรณ เทพเลื่อน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 (สุราษฎร์ธานี)
  • นนทรัตน์ พรทรัพย์มณี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 (ตรัง)

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยง, อาหาร, กรดเบนโซอิค, กรดซอร์บิคและคนไทย

บทคัดย่อ

กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิดเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้แพร่หลายในประเทศไทยเนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการถนอมอาหารและมีความเป็นพิษต่ำ แต่พบว่ามีการใช้ในปริมาณสูงในอาหารที่หลากหลายและในอาหารที่ไม่ได้ระบุอนุญาตให้ใช้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงของกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคในอาหารที่บริโภคประจำวันของคนไทย และสื่อสารข้อมูล แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของไทยและคณะกรรมาธิการอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) เพื่อใช้พิจารณาปรับแก้ไขมาตรฐานให้เหมาะสมและปลอดภัย วิธีการประเมินความเสี่ยง ศึกษาใน 2 ขั้นตอน ปริมาณการได้รับสัมผัสประเมินได้จากปริมาณกรดเบนโซอิคและกรดชอร์บิคที่ตรวจพบในอาหาร ร่วมกับปริมาณการบริโภค และการอธิบายลักษณะความเสี่ยงดำเนินการโดยเปรียบเทียบปริมาณการได้รับสัมผัสกับค่า ADI ที่ Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additive (JECFA) กำหนด การศึกษานี้ได้ดำเนินการในปีพ.ศ. 2554-2555 โดยเก็บตัวอย่างอาหารและข้อมูลปริมาณการบริโภค แบบ duplicate portion จาก 400 ครัวเรือนใน 4 ภาค เป็นเวลา 4 วัน รวมตัวอย่างอาหารทั้งหมด 1,600 ตัวอย่าง วิเคราะห์ปริมาณกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคในอาหารโดยใช้เทคนิค high performance liquid chromatography (HPLC) ผลการตรวจวิเคราะห์พบกรดเบนโซอิคในอาหารร้อยละ 89.8 ปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 36.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระดับ 97.5 percentile เท่ากับ 131.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับกรดซอร์บิค ตรวจพบร้อยละ 12.0 ปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 2.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่ระดับ 97.5 percentile เท่ากับ 20.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อนำมาคำนวณร่วมกับข้อมูลปริมาณการบริโภคเฉลี่ย 1,506กรัมต่อคนต่อวัน แล้ว พบคนไทยได้รับสัมผัสกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคจากอาหารที่บริโภคประจำวันเป็นปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 55.4 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน และ 3.2 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20.5 และ 0.2 ของค่า ADI และที่ระดับการบริโภค 97.5 percentile ได้รับเท่ากับ 93.3 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน และ 5.32 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 34.5 และ 0.4 ของค่า ADI ตามลำดับ ซึ่งอธิบายลักษณะความเสี่ยงเป็นภาพรวมได้ว่าคนไทยยังคงปลอดภัยจากปริมาณกรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร เนื่องจากปริมาณการได้รับสัมผัส ต่ำกว่าค่า ADI ที่ JECFA กำหนด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้