ประสิทธิผลของที่นอนน้ำในการรักษาแผลกดทับและลดความเสี่ยงการเกิดแผลใหม่
คำสำคัญ:
แผลกดทับ, การป้องกันและการรักษาแผล, ที่นอน, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของที่นอนน้ำในการรักษาแผลกดทับและลดความเสี่ยง ในการเกิดแผลใหม่โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการหายของแผลกดทับ ค่าเฉลี่ยในการเกิดแผลใหม่ และความพึงพอใจของ ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ระหว่างที่นอนน้ำและที่นอนลม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้านและติดเตียง ที่รับการตรวจที่สำรวจพบในเขตอำเภอเมืองตาก ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 - มีนาคมพ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งใช้ที่นอนน้ำ 60 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งใช้ที่นอนลม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (2) แบบ-ประเมินการหายของแผลกดทับ (3) แบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับของ Braden BJ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ที่นอนน้ำป้องกันและรักษาแผลกดทับ (5) นวัตกรรมที่นอนน้ำซึ่งทำจากยางพารา พร้อม ผ้าคลุมนาโนกันน้ำ จำนวน 2 ชุด (6) ที่นอนลมกันแผลกดทับ Apex KT รุ่น Exter Oasis จำนวน 2 ชุด และ (7)การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแผลกดทับและการใช้นวัตกรรมที่นอนน้ำและที่นอนลมกันแผลกดทับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการหายของแผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบว่ากลุ่มทดลองมีความเสี่ยงจากการเกิดแผลกดทับเกิดใหม่น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมที่นอนน้ำในระดับมากที่สุด จากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรม ที่นอนน้ำสามารถใช้รักษาและป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยเรื้อรัง ที่มีความเสี่ยงต่อแผลกดทับที่บ้านได้ โดยใช้ร่วมกับแนวปฏิบัติในการป้องกันและดูแลแผลกดทับ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.