ประสิทธิผลของหมอนช่วยใส่ท่อหายใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ และความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาล
คำสำคัญ:
การใส่ท่อหายใจ, หมอนช่วยใส่ท่อหายใจบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของหมอนรองคอเพื่อช่วยใส่ท่อหายใจในผู้ป่วย เป็นการศึกษาแบบ randomized controld trial ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลยโสธร/ลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย 300 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆละ 100 คน กลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจในขณะที่นอนราบไม่หนุนหมอน กลุ่มทดลองที่ 1 คือผู้ป่วยใช้หมอนหนุนขนาดความสูง 5 ซม. และกลุ่มทดลองที่ 2 คือผู้ป่วยใช้หมอนหนุนขนาดความสูง 7 ชม. เปรียบเทียบความสำเร็จในการใส่ท่อและความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาลในการใช้งานหมอนทั้ง 2 กลุ่ม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม หมอนทั้ง 2 ขนาดมีลักษณะโค้งที่ปลายทั้ง 2 ข้างเพื่อช่วยมิให้ศีรษะของผู้ป่วยลื่นหลุดออกจากหมอนได้ง่ายหลังจากพบว่าหมอนช่วยใส่ท่อหายใจสามารถใช้ได้ดี ทีมผู้วิจัยจึงได้นำไปใช้และศึกษาต่อในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจ-ล้มเหลวในหอผู้ป่วยและจุดเกิดเหตุนอกโรงพยาบาล แล้วประเมินผลจากความเห็นของแพทย์และพยาบาผู้ใช้งานผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 สามารถใส่ท่อหายใจได้ง่ายกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 ที่หนุนหมอนช่วยใส่ท่อหายใจสูง 5 และ 7 ซม. ก่อนใส่ท่อหายใจไม่มีความแตกต่างกันของความยากในการใส่ท่อช่วยหายใจ วิสัญญีพยาบาลร้อยละ 90.0 แพทย์ใช้ทุนปีที่ 1 ร้อยละ 70.0พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉินทุกคน (ร้อยละ 100.0) พึงพอใจและมั่นใจว่าการใช้หมอนช่วยใส่ท่อหายใจสูง 5 ซม.. สามารถ ช่วยให้ใส่ท่อหายใจได้สำเร็จมากขึ้น และทุกคนเห็นด้วยว่าหมอนช่วยใส่ท่อหายใจนี้ช่วยป้องกันการเลื่อนหลุดของศีรษะขณะใส่ท่อหายใจได้ดีโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ดิ้นไปมา และพบว่าการตามวิสัญญีช่วยใส่ท่อหายใจนอกห้องผ่าตัดในปีงบ-ประมาณ 2560 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งยังไม่มีการใช้หมอนช่วยใส่ท่อหายใจ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.