การประเมินผลกระทบสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนเก็บขยะ จากการสัมผัสขยะและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ฝังกลบขยะทุ่งท่าลาด เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การประเมินผลกระทบสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, คนเก็บขยะ, ขยะ, อันตรายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการประเมินความเสี่ยงสุขภาพ จากการสัมผัสขยะและสิ่งแวดล้อมของแรงงานเก็บขยะในพื้นที่บ่อฝังกลบขยะทุ่งท่าลาด เทศบาลนครนครศรีธรรมราชโดยเก็บข้อมูลจากแรงงานเก็บขยะในพื้นที่บ่อฝังกลบ ทุกคนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต การตรวจสุขภาพ การตรวจโลหะหนักในคนและสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า แรงงานเก็บขยะมีจำนวน 72 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.6 เพศหญิงร้อยละ 51.4 มีอายุเฉลี่ย 38.6 ปี นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 93.1 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 80.6 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 72.2 รายได้เฉลี่ย 10,306 บาทต่อเดือน เหตุผลของการทำอาชีพนี้คือ ไม่ต้องใช้เงินลงทุน รายได้ดี การเจ็บป่วยส่วนใหญ่เป็นอาการปวดศีรษะ ไข้หวัด ผื่นคัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากของมีคมบาด กระแทก ชนแมลงกัดต่อย การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังร้อยละ 11.2 ได้แก่ ความดัน เบาหวาน ตับอักเสบ หอบหืด การตรวจสุขภาพประจำปีในโรงพยาบาลร้อยละ 36.0 ผลการตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะสุขภาพพบความผิดปกติของไขมันและไตรกลีเซอไรด์ ปัญหาระดับน้ำตาลในเลือด ปัญหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และความผิดปกติของการตรวจ ปัสสาวะ การประเมินความเสียงจากการสัมผัสโลหะหนักในดิน พบปริมาณโลหะหนักในดินและในร่างกายโดยปริมาณโลหะหนักทั้งในคนและในสิ่งแวดล้อมคือดินที่ตรวจไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ในระดับปานกลางร้อยละ 65.3 มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 81.9 และพฤติกรรมการป้องกันอันตราย ต่อตนเองอยู่ในระดับสูง การประเมินคุณภาพชีวิตในด้านร่างกาย จิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้าน สิ่งแวดล้อมพบว่า ความพอใจด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 51.0 คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 80.5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลประชากร กับภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การอบรมให้ความรู้ การติดตามเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ คุณภาพชีวิต ควรให้มีการสนับสนุนและดูแลต่อเนื่อง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.