ประสิทธิภาพทางการเงินและบัญชีของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: ทัศนะจากเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การเงินและบัญชี, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินและบัญชีของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหลังจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทราบว่าโรงพยาบาลบางแห่งเท่านั้นที่ทำบันทึกรายการโอนเงินได้อย่างถูกต้อง ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้รูปแบบรายการเงินและบัญชีกระแสเงินสดตาม "รูปแบบเอกสารทางการเงิน" การวิจัยนี้เริ่มจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามรอบแรกปี 2553 สำรวจความคิดเห็น หัวหน้างานการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทางการเงินและบัญชีของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีผู้ตอบกลับจำนวน 398 แห่ง ตามด้วยการสำรวจครั้งที่ 2 ในปี 2554 มีผู้ตอบกลับจำนวน 414 แห่ง หลังจากปรับรูปแบบใหม่เป็น "รูปแบบรายงานรอบเวลาทางการเงินและบัญชี" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการฯ และสัมภาษณ์เชิงลึก หัวหน้างานการเงินและบัญชี เลือกแบบเจาะจงผู้ที่เห็นว่ารูปแบบใหม่มีประสิทธิภาพทางการเงินและบัญชีมากที่สุด และน้อยที่สุด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556ผลจากแบบสอบถาม รูปแบบใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเรื่องของการโอนเงิน การสรุปยอดภาระผูกพัน คงค้างการรับรู้รายได้ล่วงหน้า ความเร็วของการแจ้งข้อมูล ความชัดเจนเข้าใจง่าย และการนำไปใช้ประโยชน์ ยกเว้นความถี่ในการแจ้งข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึกย้ำประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นคือความรวดเร็วและความถูกต้องของรายงานการโอนเงิน เปรียบเทียบประสิทธิภาพทางการเงินและบัญชีกับระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐอีก 2หลักประกัน สปสช. ควรปรับความถี่ และความครอบคลุมของข้อมูลบัญชี ที่เป็นรูปแบบใหม่ให้สามารถแข่งขันกับกองทุนหลักประกันสุขภาพอื่นได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.