ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • รุสลี บาเหะ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 12 จังหวัดสงขลา
  • ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, กฎบัตรออตตาวา, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานีจำนวน 118 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบถอยหลัง ผลการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีระดับความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพตามกลยุทธ์สร้างเสริมสุขภาพกฎบัตรออตตาวาภาพรวม 3 ด้านอยู่ในระดับมาก (Mean=3.92, SD=0.47) รายด้าน พบว่า การไกล่เกลี่ย การประสานงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean=3.99, SD=0.54) รองลงมาคือ การสนับสนุนชี้แนะ (Mean=3.93, SD=0.53) และการเสริมสร้างความสามารถ (Mean=3.81, SD=0.53) ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยการบริหารด้านการจัดการ (β=0.559) และด้านงบประมาณ (β=0.163) ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (p<0.001 และ p=0.049 ตามลำดับ) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติงานพื้นที่เหตุการณ์ความไม่สงบ (β=0.076, p=0.288) เป็นปัจจัยร่วมในการทำนาย ปัจจัยทั้งสามสามารถร่วมทำนาย ร้อยละ 45.3 หน่วยงานสาธารณสุขควรพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ด้านทักษะการสื่อสารสาธารณะ การคืนข้อมูลการทำนโยบายสาธารณะ และการประสานงานกับองค์กรภาครัฐในชุมชน ให้ความสำคัญกับการใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ Plan Do Check Act (PDCA) ในการจัดการที่มีคุณภาพ และต่อเนื่อง การสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ ต่อการใช้จ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆ


Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ