ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนต่อโรคอ้วนในเด็ก: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
โรคอ้วนในเด็ก, วัยเด็กเรียน, หลายองค์ประกอบ, ผลลัพธ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้มีเพื่อรวบรวมผลงานเชิงประจักษ์ของงานวิจัยใหม่ ๆ และทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนในการป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็กวัยเรียนตลอดจนคำแนะนำมาตรการที่มีต่อการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน วิธีการศึกษาใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) โดยสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 จาก 2ฐานข้อมูล (PubMed, Science Direct) และ วารสาร Obesity Reviews โดยสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2558 จาก 2 ฐานข้อมูล (PubMed, Science Direct) และ วารสาร Obesity Reviews โดยเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่ม การศึกษาเชิงทดลอง และการศึกษากึ่งทดลอง ได้ผลงานวิจัยตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 25 บทความ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพได้ผลแตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การให้โภชนศึกษา การออกกำลังกาย การจัดการสิ่งแวดล้อม นโยบาย และระยะเวลาการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพซึ่งมีตั้งแต่ 10 สัปดาห์ถึง 3 ปี พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของโปรแกรมส่งเสริม-สุขภาพมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยลดลง ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลดลง โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีหลายองค์ประกอบมีการเปลี่ยนแปลงของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้องค์ประกอบอันใดอันหนึ่งเพียงอย่างเดียว โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่มีระยะเวลาระหว่าง 1-2 ปีมีประสิทธิผลสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่น้อยกว่า 1 ปีหรือมากกว่า 2 ปี การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพควรเลือกใช้แบบหลายองค์ประกอบ (multicomponent)และระยะเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น การศึกษาวิจัยในโรงเรียนเพื่อปัญหาโรคอ้วนในวัยเด็ก ควรเลือกวิธีวิจัย ระยะเวลากระบวนการที่เหมาะสมและการมีส่วนร่วมทั้งครู ผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.