การศึกษาการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ

ผู้แต่ง

  • กฤษดา แสวงดี สถาบันพระบรมราชชนก
  • เกษร คงแขม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช
  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช
  • อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การประเมินผลโครงการ, การพัฒนาบุคลากร, สมรรถนะ, ระบบสุขภาพอำเภอ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอและนำเป็นข้อมูลกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาทีมสุขภาพให้เกิดสมรรถนะในการทำงานเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการศึกษาชนิดทบทวนเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสรุปความ นำไป สังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาการเสริมสร้างสมรรถนะทีมสุขภาพในระบบสุขภาพอำเภอผลการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ DHML (District Health Management Learning) ยืดแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติ มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำงานในรูปของเครือข่ายโดยใช้บริบทเป็นฐาน กระบวนการเรียนรู้ DHML ใช้ "โครงการ" เป็นเครื่องมือในการดำเนินกระบวนการเรียนรู้ โดยให้ทีมผู้เรียนปฏิบัติงานจริงที่เชื่อมโยงกับงานประจำในสภาพการณ์จริงของพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนการเรียนรู้อย่างเป็นระยะ พี่เลี้ยงในพื้นที่ อาจารย์เป็นที่ปรึกษา หรือศูนย์เรียนรู้ มีหน้าที่เชื่อมประสานการจัดการเรียนรู้และผู้จัดกระบวนการ DHML ส่วนกลาง มีการจัดเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการเรียนรู้โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตลอดระยะเวลาการเรียนรู้ 1 ปี มีการดำเนินการทั้งหมด 5 ครั้ง ๆ ละ 2 วัน เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้จะเกิดการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ การพัฒนาคน การพัฒนางาน และการพัฒนาเครือข่ายหรือทีมงาน การจะเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพอำเภอจำเป็นต้องพัฒนาทีมสุขภาพให้มีการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาแนวคิดการพัฒนาควรสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ภายใต้การทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ท้องถิ่น และหน่วยบริการสุขภาพ ด้วยกระบวนทัศน์การพัฒนาเชิงจุลภาค โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพที่ไม่หยุดนิ่ง และพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ จึงจะทำให้เกิดผลลัพธ์ทั้งการพัฒนาคน การพัฒนางาน และการพัฒนาเครือข่ายหรือทีมงานได้ สถาบันพระบรมราชชนกควรกำหนดนโยบายใน 4 ด้าน คือ (1) ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาลัยในสังกัด (2) พัฒนาหน่วยงานภายนอกสถาบันให้มีความเข้มแข็งในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (3) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ (4) การขยายพื้นที่ของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้