การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชย ค่าบริการสาธารณสุขในระบบ Diagnosis Related Groups

ผู้แต่ง

  • เพ็ญประภา พรศรีเมตต์ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • กนกรัตน์ ไสยเลิศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, ค่าบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบ DRGs ของเวชระเบียนผู้ป่วยใน โรงพยาบาลขอนแก่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการระหว่างปีงบประมาณ 2555-2558 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การดำเนินการ และการประเมินผล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการ ติดตามความทันเวลาในการส่งเวชระเบียน จากนั้นบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเวชระเบียนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลความทันเวลาของเวชระเบียน โดยใช้สถิติเชิงปริมาณ เป็นความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษาในช่วงวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าการไหลเวียนของเวชระเบียนตามจุดที่กำหนด 5 จุด ไม่ทันเวลาที่กำหนด โดยจุดที่ 1 หอผู้ป่วย - คิดค่ารักษาพยาบาลไม่ทันเวลา ร้อยละ 57.64 จุดที่ 2 แพทย์สรุปเวชระเบียน ไม่ทันเวลาร้อยละ 50.15 จุดที่ 3 ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบเวชระเบียนไม่ทันเวลา ร้อยละ 33.24 จุดที่ 4 เวชระเบียนลงทะเบียนรับกลับไม่ทันเวลาร้อยละ 19.59 และจุดที่ 5 coder ให้รหัสโรคหัตถการ ไม่ทันเวลาร้อยละ 3.32 ภาพรวมของระยะเวลาเวชระเบียนไม่ทันเวลาเท่ากับ 0.84 ทำให้สูญเสียรายได้ 81 ล้านบาท เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของการส่งเวชระเบียนไม่ทันเวลาของแต่ละจุด พบว่า สาเหตุเกิดจากเวชระเบียนขาดความสมบูรณ์ เวชระเบียนสูญหาย ภาระงานมาก hardware และ software ไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินการพัฒนาในแต่ละจุด ดังนี้ จุดที่ 1 หอผู้ป่วย - คิดค่ารักษาพยาบาล มีการสร้างระบบติดตามเวชระเบียน จุดที่ 2 แพทย์สรุปเวชระเบียน ได้มีการพัฒนาระบบการสรุปเวชระเบียนของแพทย์โดยจัดทำระบบ pre-audit ผ่านระบบ electronic file และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง จุดที่ 3 ผู้ตรวจสอบบัญชีพัฒนาระบบ one stop service มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน social network และมีการจัดอัตรากำลังมาขึ้นปฏิบัติงานในช่วงวันหยุดและนอกเวลาราชการ จุดที่ 4 เวชระเบียนลงทะเบียนรับกลับ มีการพัฒนาร่วมกับกลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาประสิทธิภาพ hardware และ software ให้ทันสมัยเหมาะสมกับลักษณะงาน จุดที่ 5 coder ให้รหัสโรคหัตถการ ได้พัฒนาการให้รหัสโรคหัตถการ จัดอัตรากำลังเสริมในช่วงวันหยุดราชการ จากการประเมินผลจากเวชระเบียนทั้งหมดพบว่า ความล่าช้าน้อยลงทำให้สามารถส่งเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขได้ทันเวลามากขึ้นจากร้อยละ 99.16 ในปีงบประมาณ 2555 เป็นร้อยละ 100.00 ในปีงบประมาณ 2558 จากการศึกษาครั้งนี้ มีการแก้ไข ปัญหาในระบบไหลเวียนเวชระเบียนในแต่ละจุดที่แตกต่างกันออกไปโดยการมีส่วนร่วมจากสหสาขาวิชาชีพโดยใช้แนวคิด lean concept และมีการจัดระบบ pre-audit ผ่านระบบ clectronic file มีการติดตามและสะท้อนข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้เกิดประสิทธิภาพระบบการเบิกชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในระบบ DRGs

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ