การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และผลกระทบ ด้านงบประมาณสำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ผู้แต่ง

  • กุมารี พัชนี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน โรงพยาบาลบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
  • ภูษิต ประคองสาย สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ , กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผ่าตัดปลูกถ่ายตับ, ชุดสิทธิประโยชน์, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ประสิทธิผลต้นทุน

บทคัดย่อ

การผ่าตัดเปลี่ยนดับหรือ'การปลูกถ่ายดับ' เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคดับที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้แก่ โรคดับ ที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันหรือ "ตับวายเฉียบพลัน" รวมทั้งโรคตับที่เกิดขึ้นเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับ ซึ่งใน ต่างประเทศถือเป็นการรักษาตามมาตรฐานในผู้ป่วยโรคตับ โดยผู้ป่วยจะมีชีวิตรอดหลังการรักษามากกว่าร้อยละ 80.0 ที่ระยะ 5 ปี ทั้งนั้วธีการเปลี่ยนตับจำแนกตามผู้บริจาคได้ 2 วิธี คือ การเปลี่ยนตับจากผู้บริจาคอวัยวะที่มีภาวะสมองตายและการเปลี่ยนตับโดยนำดับมาจากผู้มีชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และคำนวณผลกระทบด้านภาระงบประมาณและความเป็นไปได้ในการให้บริการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปรวมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพิจารณาผนวกรวมการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) วิธีการศึกษาประกอบด้วย (1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (2) การศึกษาต้นทุนการให้บริการในกรณีผู้บริจาคที่มีชีวิตและเสียชีวิต (3) การสัมภาษณ์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายทั้งก่อนและหลังการรักษา (4) สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการรักษาและระหว่างรอรับการรักษา และ (5)การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการปลูกถ่ายตับเป็นรายปี และค่าใช้จ่ายสะสมต่อรายตั้งแต่ปีที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจนถึงปีที่ 20 ค่าใช้จ่ายสูงสุดประมาณ 500,000-700,000 บาทต่อรายในปีแรกที่ได้รับการผ่าตัด ในปีถัดไปจะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับยากดภูมิคุ้มกันและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน ซึ่งหากใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาความคุ้มค่าของบริการสุขภาพ ของคณะอนุกรรมการพัฒนาสิทธิ์ประโยชน์ฯ การปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่อาจมีประสิทธิผลต้นทุน ทั้งนี้หากผู้ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับมีอายุยืนนานเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ปี เมื่อเปรียบเทียบการรักษาโดยการผ่าตัดปลูกถ่ายตับกับการไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ค่าอัตราส่วนของส่วนต่างต้นทุนต่อประสิทธิผลส่วนเพิ่มเท่ากับ 254,557.76 บาท ต่อปีสุขภาวะ (OALY) ที่เพิ่มขึ้นหากใช้เกณฑ์ความคุ้มค่าที่ 1 GDP per capita หรือรายได้ต่อหัวประชากร ประมาณ 160,000 บาทต่อ QALY ดังนั้นการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ใหญ่ยังไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ถึงแม้จำนวนปีสุขภาวะเพิ่มขึ้นมาก แต่จากค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดและราคายากดภูมิคุ้มกันและยาปฏิชีวนะ ป้องกันการติดเชื้อที่มีราคาสูง หากเจรจาต่อรองราคายาจะทำให้การรักษานี้มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากยิ่งขึ้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-08

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2