การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดผู้ใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย: ศึกษาแบบ Matched Case-Control

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • เกษร แถวโนนงิ้ว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น กรมควบคุมโรค
  • ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • เอนก มุ่งอ้อมกลาง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, เสมหะบวก, สาเหตุ, ปัจจัยการเสียชีวิต, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคามและกาฬสินธุ์ มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคสูงกว่าระดับประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 - 2560 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในระหว่างการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ เพื่อใช้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหา รูปแบบการศึกษา matched case-control study โดยสุ่มตัวแทนกลุ่มผู้เสียชีวิต จำนวน 340 รายและกลุ่มที่มีชีวิตตลอดการรักษาจำนวน 680 ราย ที่ขึ้นทะเบียน ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 โดยควบคุมปัจจัยสถานที่การรักษาและระยะเวลาเริ่มต้นการรักษาไม่เกิน 2 สัปดาห์ เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ร่วมกับสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติในกรณีที่เสียชีวิต เพื่อวิเคราะห์หาขนาดความสัมพันธ์และลดปัจจัยกวนโดยการหาค่า adjusted odds ratio (OR) ในช่วงความเชื่อมั่น 95% จากสถิติ multiple logistic regression โดยพบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิต ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่มากกว่า 65 ปี [OR 3.61 (95%CI 2.12-6.12, p<0.01)) กลุ่มที่มีโรคไตวายเรื้อรัง [OR 4.34 (95%CI 1.62-11.62, p<0.01)] ในกลุ่มผู้ป่วยที่ให้ประวัติอาการเบื่ออาหาร ตั้งแต่ก่อนการรักษาโดยที่ค่าดัชนีมวลกายยังไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ [OR 2.55 (95%CI 1.18-5.50, p<0.02)] และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาในระยะเริ่มต้นที่นอกเหนือจากสูตรมาตรฐาน จะมีการเสียชีวิตที่สูงมากกว่าปกติ [OR 3.92 (95%CI 1.52-10.10, p<0.01)] โดยสรุปโรคไตวายชนิดเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเสียชีวิตต่างจากการศึกษาอื่นๆในประเทศที่มักพบกลุ่มโรคเอชไอวี ส่วนผู้ป่วยที่ถูกพิจารณาให้นอนโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่วินิจฉัยมักจะเสียชีวิต [OR 10.58 (959CI 4.90-22.83, p<0.01)] เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ดังนั้น พื้นที่ควรจัดระบบให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้รับการดูแลอย่างเข้มข้นและเพิ่มระบบแจ้งเตือนแพทย์ที่ทำการรักษาผู้ป่วยรายใหม่ที่แตกต่างจาก สูตรมาตรฐาน จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-07-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้