การพัฒนาตำบลสุขภาวะ: กรณีศึกษาตำบลกรุงชิงอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ทัศณุ เรืองสุวรรณ์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • พิมลพรรณ ศรีสงคราม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนบ
  • ปรีดา ไก่แก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปีย

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม, ชุมชนสุขภาวะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำบลสุขภาวะ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตำบลสุขภาพ โดยใช้เทคนิควิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal: PRA)และการเรียนรู้แบบปฏิบัติจริง พัฒนาผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยการฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ การทำแผนที่ตำบลสุขภาวะ การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชน การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ตลอดจนการจัดทำแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาในชุมชน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จาก 11 หมู่บ้านถูกคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 224 คน มีขั้นตอนการศึกษา 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 : ขั้นการวางแผน (planning) ขั้นที่ 2 : ขั้นปฏิบัติการ (action) ขั้นที่ 3 : (observation) ขั้นที่ 4 : ขั้นการสะท้อนผล (refiection) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีทักษะในการจัดการ ดังนี้ (1) จัดทำเครื่องมือประเมิน สุขภาวะในชุมชน (2) ทำแผนที่สุขภาวะระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน 6 มิติ [แผนที่ผู้นำ (ทางการ) แผนที่ผู้นำ (ไม่เป็นทางการ) กลุ่มอาชีพ แผนที่ร่างกาย แผนที่จิตใจ แผนที่สังคม และแผนที่ภูมิปัญญา] ส่วนด้านการมีส่วนร่วมพบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพด้วยในชุมชนแบบมีส่วนร่วม สามารถร่วมมือจัดทำแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน จำนวน 11 โครงการ ตลอดทั้งจัดทำแผน 3 ปีบรรจุในแผนการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-20

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้