ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตและจุดคุ้มทุนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต, จุดคุ้มทุน, นักศึกษา, วิทยาลัยพยาบาลบทคัดย่อ
สถาบันพระบรมราชชนกได้เล็งเห็นความสําคัญของการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการการผลิตนักศึกษาให้ มีประสิทธิผลและใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยการผลิตพยาบาลและจุดคุ้มทุนในการผลิตนักศึกษาในสถาบันโดยเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) เป็นระยะ 1 ปี ในปีงบประมาณ 2559 (1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559) และข้อมูลบางส่วนเก็บรวบรวมข้อมูลไปข้างหน้า (pro-spective review) ในมุมมองของผู้ผลิตนักศึกษา จัดสรรการกระจายต้นทุนโดยใช้วิธีลําดับขั้น (step-downmethod) แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมจากค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมมีค่าตํ่าสุดเท่ากับ 50,395,379.63 บาท และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 85,278,431.08 บาท ค่ากลางร้อยละของสัดส่วนต้นทุนเทียบกันระหว่างต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าครุภัณฑ์ เท่ากับ 65.16, 20.55 และ 15.06 ตามลําดับ ค่ากลางร้อยละของสัดส่วนต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม เท่ากับ 61.61 และ 38.39 ค่ากลางต้นทุนต่อภาระงานจากจํานวนนักศึกษาเต็มเวลา 138,255.83 บาทต่อ FTES ค่ากลางต้นทุนต่อหน่วย 138,783.94 บาทต่อคน ทุนต่อหน่วยการผลิตนักศึกษา แยกตามรายชั้นปี ชั้นปี ที่หนึ่งมีค่ากลางมากที่สุดเท่ากับ 182,249.5 บาทต่อปี รองลงมาชั้นปีที่สองมีค่าเท่ากับ 166,533.61 บาทต่อปี และ ชั้นปีที่สาม มีค่าเท่ากับ 144,168.93, และน้อยที่สุดชั้นปี ที่สี่เท่ากับ 3,130.85 บาทต่อปี จุดคุ้มทุนเท่ากับ 136 คนต่อปี ศึกษาต้นทุนเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษาในการนําข้อมูลไปใช้ในการบริหาร สถาบันการศึกษาและทําให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.