Risk Factors of Low Birth Weight Newborns in Somdetphraphutthalertla Hospital - ปัจจัยเสี่ยงของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
บทคัดย่อ
One of the major public health problems inThailandis the higher mortality and morbidity rates among low birth weight newborns compared to their counterparts with normal birth weight. A case-control study thus sought better understanding on the risk factors for low birth weight newborns. For this studies, 1,409 mothers who delivered live birth newborns between October 1, 2006 and September 30, 2007 at Somdetphraphutthalertla hospital in Samut Songkhram province were included. This retrospective study compared 115 mothers who delivered newborns with birth weight under 2,500 grammes with the control group of mothers of consecutive babies whose birth weight was more than 2,500 grammes. Data were collected from delivery and patient medical records at the hospital and were subsequently analyzed using Chi- square test, odds ratio, and 95% confidence interval. The study showed that the low birth weight rate was 8.16 percent. The following risk factors were found to be statistically significant: gestational age < 37 weeks (OR21.276, 95%CI 9.989, 45.318), leakage of amniotic fluid (OR. 12.058, 95%CI 1.530, 95.012), pregnancy induced hypertension (OR 10.485, 95%CI 2.373, 46.328), maternal weight before pregnancy < 45 kilograms (OR3.663, 95%CI 2.062, 6.506), maternal weight gain during pregnancy < 10 kilograms (OR3.137, 95%CI 1.831, 5.374), maternal height < 150 centimeters(OR 3.043, 95%CI 1.433, 6.463), maternal Body Mass Index < 20 kilograms. /m2 (OR 2.217, 95%CI 1.281, 3.837), and the incidence of twins in pregnancy (OR 2.055, 95%CI1.796, 2.351). Complete antenatal care in compliance with the World Health Organization standard was found to be a statistically significant preventive factor (OR 0.458, 95%CI. 0.270, 0.778). On the other hand, maternal age, education, occupation, medical conditions, gravidity, previous bad obstetric histories, history of abortion, antipartum hemorrhage, anemia in pregnancy, and placental abnormalities were found not to be significantly associated with the low birth weight of newborns. More attention should be given to pregnant women with the cited risk factors and efforts should be made to identify the causes and how to prevent pre-term delivery in order to minimize the risks of low birth weight newborns and their unpleasant outcomes.
Key words: low birth weight, risk factors
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมีอัตราตายและเจ็บป่วยหรือพิการสูงกว่าทารกแรกเกิดน้ำหนักปรกติ ถือเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ การศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย เป็นแนวทางในการวางแผนแก้ไขปัญหา การศึกษาแบบ case - control study นี้ ศึกษาย้อนหลังในมารดาซึ่ง คลอดทารกแรกเกิดมีชีพ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2550 จำนวน 1,409 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มประวัติของโรงพยาบาล กลุ่มศึกษาคือมารดาที่คลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 115 ราย กลุ่มควบคุมคือมารดาที่คลอดทารกน้ำหนัก ตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป ซึ่งคลอดหลังทารกน้ำหนักตัวน้อยที่นำมาศึกษา ในสัดส่วน 1:1 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ chi-square test, odds ratio และ 95% confidence interval พบว่าอุบัติการของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยร้อยละ 8.16 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุครรภ์ทารกน้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR21.276, 95%CI 9.989, 45.318) ภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (OR 12.058, 95%CI 1.530, 95.012) ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (OR 10.485, 95%CI 2.373, 46.328) น้ำหนักมารดาก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 45 กิโลกรัม (OR3.663, 95%CI 2.062, 6.506) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์น้อยกว่า 10 กิโลกรัม (OR3.137, 95%CI 1.831, 5.374) ส่วนสูงของมารดาน้อยกว่า 150 เซนติเมตร (OR 3.043, 95%CI 1.433, 6.463) ค่าดัชนีมวลกายของมารดาก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 20 กิโลกรัม/ม2 (OR 2.217, 95%CI 1.281, 3.837) และการตั้งครรภ์แฝด (OR 2.055, 95%CI 1.796, 2.351) ส่วนการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์คุณภาพเป็น preventive factor (OR 0.458, 95%CI 0.270, 0.778) ปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดทารกน้ำหนักน้อยคือการมีเลือดออกทางช่องคลอดก่อนคลอด อายุ การศึกษา อาชีพของมารดา โรคประจำตัวของมารดา ลำดับของการตั้งครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์ที่ไม่ดีในอดีต ประวัติแท้ง รวมทั้ง ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ และ รกผิดปรกติ ดังนั้นควรมีการดูแลเพิ่มขึ้นในมารดาตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ รวมถึงการหาสาเหตุและป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงภาวะไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
คำ ำคัญ: ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย, ปัจจัยเสี่ยง