Guideline on Hip Fracture Treatment in Elderly in Choaprayayomraj Hospital : A Prospective Study - แนวทางการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช : การศึกษาไปข้างหน้า
บทคัดย่อ
A prospective study was carried out to assess a clinical practice guideline on the treatment of a fracture of the femoral neck or intertrochanteric fracture in elderly. Eigthy four patients, aged 60 years and over, were included in this study during 1 February 30 September 2007. The outcomes to be measured were 1) the mortality rate during hospitalization, 2) the 6 month mortality rate after hip fracture, 3) the ambulatory ability at a followup of 6 months, 4) ambulation at 6 months compare with prefracture ambulatory ability. In this study, the mortality rate during hospitalization was nil. The 6 month mortality rate after hip fracture was 14.29 percent. At a followup of 6 months there were 7 (11.67%) independent community ambulators, 24 (40%) community ambulators with walking aids, 14 (23.33%) household ambulators with walking aids and 15 (25%) nonfunctional ambulators. Twelve (20%) patients regained their prefracture ambulatory ability and 48 (80%) lost some degree of ambulatory ability. This guideline is safe and 75 percent patients can resume walking.
Key words: hip fracture, outcome, prospective study
การศึกษาไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของแนวทางในการรักษากระดูกสะโพกหักในคนสูงอายุ เก็บข้อมูลผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีกระดูกหักบริเวณ femoral neck หรือ intertrochanteric ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ถึง 30 กันยายน 2550 รวม 84 ราย ทั้งหมดได้ปฏิบัติตามแนวทางในการรักษากระดูกสะโพกหักในคนสูงอายุ โดยมีเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ คือ 1.อัตราการเสียชีวิตขณะอยู่โรงพยาบาล 2.อัตราการเสียชีวิตหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน 3. ความสามารถในการเดินหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน 4. เปรียบเทียบความสามารถในการเดินก่อนกระดูกสะโพกหักกับหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน การศึกษาพบว่า ไม่พบอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล อัตราการเสียชีวิตหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน 10 คน (14.29%) ความสามารถในการเดินหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน ผู้ป่วยสามารถเดินได้เอง 7 คน (11.67%) สามารถเดินออกนอกบ้านได้โดยใช้เครื่องช่วยพยุง 24 คน (40%) สามารถเดินได้เฉพาะในบ้านโดยใช้เครื่องช่วยพยุง 14 คน (23.33%) เดินไม่ได้ 15 คน (25%) เปรียบเทียบความสามารถในการเดินก่อนกระดูกสะโพกหักกับหลังกระดูกสะโพกหัก 6 เดือน เท่ากับก่อนกระดูกสะโพกหัก 12 คน (20%) ลดลงจากก่อนกระดูกสะโพกหัก 48 คน (80%) การปฏิบัติตามแนวทางนี้ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย และผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้ 75%
คำสำคัญ: กระดูกสะโพกหัก, ผลต่อเนื่อง, การศึกษาไปข้างหน้า